มาตรการทางกฎหมายควบคุมการออกใบอนุญาตอาวุธปืนสั้น ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490

ผู้แต่ง

  • วีรวิชญ์ เรืองประเสริฐ นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชานิติศาสตร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • รุ่ง ศรีสมวงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชากฎหมายแพ่งและธุรกิจ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.3

คำสำคัญ:

อาวุธปืนสั้น, ใบอนุญาต, เก็บรักษา, พระราชบัญญัติอาวุธปืน

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอปัญหาการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมอาวุธปืนสั้นของประเทศไทยที่เกี่ยวกับมาตรการออกใบอนุญาตอาวุธปืนสั้นตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งมีการบังคับใช้มาเป็นเวลายาวนาน จึงไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายหลายประการ ได้แก่ ปัญหาความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการออกใบอนุญาตอาวุธปืน ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย กรณีอาวุธปืนสูญหาย ถูกทำลายหรือถูกลักขโมย โดยผู้เขียนได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้ ประการแรก การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้รับใบอนุญาตอาวุธปืน โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแจ้งวิธีการเก็บรักษาอาวุธปืนสั้น ตำแหน่งและสถานที่เก็บรักษาอาวุธปืนสั้นต่อนายทะเบียนท้องที่ก่อนพิจารณาออกใบอนุญาต ประการที่สองกำหนดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการแจ้งเหตุและส่งมอบใบอนุญาตให้แก่นายทะเบียนท้องที่ซึ่งผู้รับใบอนุญาตอยู่หรือที่เกิดเหตุโดยทันที ในกรณีอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตแล้วนั้น ถูกทำลายหรือสูญหาย ประการที่สาม การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดระยะเวลาในการยื่นขอรับใบอนุญาตใหม่ กรณีอาวุธปืนที่ตนได้รับอนุญาตนั้นถูกทำลายหรือสูญหายไปด้วยเหตุใด ๆ ประการที่สี่ กำหนดให้มีการจำกัดสิทธิการขอรับใบอนุญาตมีอาวุธปืนแก่ผู้รับใบอนุญาตที่ไม่แจ้งการสูญหายของอาวุธปืน และประการสุดท้าย การเพิ่มข้อสันนิษฐานของกฎหมาย กรณีผู้รับใบอนุญาตไม่แจ้งการสูญหายของอาวุธปืนซึ่งตนครอบครอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการปกครอง, คู่มือปฏิบัติงานอาวุธปืน พ.ศ. 2548 เล่มที่ 1 ฉบับรวมหนังสือสั่งการ, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน, 2549).

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2563).

ชาญชัย แสวงศักดิ์, คำอธิบายกฎหมายปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 26 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560).

นิเวศน์ เลาวพงศ์, อาวุธปืน (ประวัติและวิวัฒนาการ), (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มาลัย, 2539).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักกฎหมายมหาชน หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จำกัดอำนาจรัฐ(กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, พิมพ์ครั้งที่ 6 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562).

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, กฎหมายมหาชนเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562).

วิชาญ น้อยโต, มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการมีและใช้อาวุธปืนตามกฎหมายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2557).

สมพร พรหมหิตาธร, ย่อหลักกฎหมายปืน, พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2555).

สุรพัศม์ นำลอง, บทบาทหน่วยรบพิเศษในการรัฐประหารในช่วงปี พ.ศ. 2509-2549, (การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยชียงใหม่, 2554).

สวนิต สตงคุณห์, ปัญหาและแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน: ศึกษาในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ, (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544).

Library of Congress, Firearms-Control Legislation & Policy [Online], Source: https://tile.loc.gov/storage-services/service/ll/llglrd/2013417226/2013417226.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2023

How to Cite

เรืองประเสริฐ วีรวิชญ์, และ ศรีสมวงษ์ รุ่ง. 2023. “มาตรการทางกฎหมายควบคุมการออกใบอนุญาตอาวุธปืนสั้น ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 6 (1):110-46. https://doi.org/10.14456/mfulj.2023.3.