พระราชดำรัสกับการปฏิบัติตนของนักกฎหมาย

ผู้แต่ง

  • หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.1

คำสำคัญ:

พระราชดำรัส, การปฏิบัติตน, นักกฎหมาย

บทคัดย่อ

“กฎหมาย” คือกติกาของสังคม บัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติไม่ให้เกิดการล่วงสิทธิหรือกระทำผิดต่อหน้าที่ อย่างไรก็ตาม กฎหมายเป็นเพียงตัวหนังสือ ความสำคัญจึงอยู่กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ผู้บัญญัติกฎหมาย หรือผู้ที่ใช้กฎหมายเป็นสำคัญ ถ้ายึดถือปฏิบัติตามแนวกระแสพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และพระราชดำรัสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน ก็จะไม่เกิดกรณีที่หญิงซึ่งถูกข่มขืนแต่ไม่อาจนำตัวผู้กระทำความผิดมารับโทษได้ แต่ในทางกลับกัน หากพนักงานสอบสวนได้ยึดถือน้อมเกล้านำกระแสพระราชดำรัสเป็นแนวปฏิบัติ หญิงที่ถูกข่มขืนแม้จะไม่มีประจักษ์พยานมายืนยัน แต่จากการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน ก็ทำให้สังคมตลอดทั้งหญิงผู้เสียหายได้รับความเป็นธรรม เพราะสามารถที่จะนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ หรือในกรณีที่แม้จะมีเจ้าพนักงานของรัฐเป็นพยานโจทก์หลายคน แต่หากการทำงานของผู้พิพากษาได้ทำงานอย่างผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งศาสตร์และศิลป์ก็สามารถที่จะให้ความ เป็นธรรมกับจำเลย ทำให้จำเลยได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติและทำประโยชน์ให้แก่สังคมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01.01.2018

How to Cite

เกษมสันต์ หม่อมหลวงไกรฤกษ์. 2018. “พระราชดำรัสกับการปฏิบัติตนของนักกฎหมาย”. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1 (1):11-18. https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.1.