การศึกษากฎหมายเชิงสหวิทยาการ
DOI:
https://doi.org/10.14456/mfulj.2018.2คำสำคัญ:
การศึกษา, กฎหมาย, สหวิทยาการบทคัดย่อ
แม้การศึกษานิติศาสตร์ในประเทศไทยจะได้มีมานานแล้วก็ตาม แต่นักศึกษากฎหมายและครูสอนกฎหมายในปัจจุบันก็อาจจะยังไม่ตระหนักว่าแท้จริงแล้ววิชานิติศาสตร์เองนั้น ได้เกิดขึ้นจากการบูรณาการวิชาของศาสตร์แขนงต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นวิชานิติศาสตร์ขึ้นมา ซึ่งการศึกษานิติศาสตร์ในระยะหลังมีลักษณะเป็นการแบ่งแยกสาขากฎหมายให้มีลักษณะเฉพาะมากขึ้น นักกฎหมายแต่ละสาขาจึงสับสนกับแนวความคิดทางกฎหมายของสาขาอื่น ๆ นอกจากนี้การศึกษาแบบสหวิทยาการที่เรียกกันว่า Interdisciplinary approach ก็เป็นแนวคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน บุคลากรที่เกี่ยวข้องจะมีความรู้และประสบการณ์หลาย ๆ ด้าน ในคน ๆ เดียวจึงหาได้ยาก การเรียนการสอนจึงมีลักษณะเป็นทีมสอนด้วยกัน ถ้ามิได้บูรณาการความรู้และประสบการณ์เข้าด้วยกันแล้วก็เป็นเพียงการย่อระเบียบทางวิชาการในศาสตร์ ของตนเอามารวมกันไว้ให้คนเรียนแต่ละคนเท่านั้น จึงมีลักษณะเป็นเพียงการศึกษาแบบ Multidisciplinary, Transdisciplinary หรือ Cross disciplinary เท่านั้น ทำให้การนำไปใช้ประโยชน์ถูกจำกัด ทั้งนี้เพราะปัญหาที่ผู้คนในสังคมประสบนั้นเกิดจากเหตุและปัจจัย หลายแขนงที่จะต้องใช้องค์ความรู้มากกว่าหนึ่งแขนงจึงจะสามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิผล บทความนี้จึงเสนอให้ใช้ Interdisciplinary approach ในการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในปัจจุบันด้วย
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.