การประยุกต์ใช้ระบบบัญชีด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในโครงการผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เมชยา ท่าพิมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพทั่วไปในการมีส่วนร่วมในการทำบัญชีของสมาชิกโครงการผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) พัฒนาระบบบัญชีที่มีความเหมาะสมกับโครงการผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 3) ประเมินผลระบบบัญชีที่พัฒนาเพื่อใช้ในโครงการผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือในการวิจัยใช้ แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มที่มาจากกรรมการที่ปฏิบัติงานในโครงการผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 12 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) คือ ประธาน รองประธาน กรรมการ ผู้ตรวจกลุ่ม และสมาชิก ผลการศึกษาพบว่า โครงการผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีระบบบัญชีที่ยังไม่ชัดเจน ยังขาดกระบวนการในระบบการขายเป็นเงินสดและเงินเชื่อ ระบบบัญชีซื้อเป็น เงินสดและเงินเชื่อ พร้อมด้วยระบบบัญชีจ่ายเงิน และระบบบัญชีรับเงิน ด้านผู้วิจัยมีการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดจากสมาชิกให้มีส่วนร่วมในการออกแบบระบบบัญชี 4 ระบบ ดังนี้ 1) ระบบบัญชีซื้อ 2) ระบบบัญชีขาย 3) ระบบบัญชีรับเงิน และ 4) ระบบบัญชีจ่ายเงิน โดยทำการออกแบบผังบัญชี เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้อง สมุดบัญชีที่ใช้ งบการเงินที่จำเป็นจะต้องมี การสรุปผลการดำเนินงาน และรายงานฐานะทางการเงินที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนและตัดสินใจให้กับผู้บริหาร นอกจากนั้นแล้วสามารถนำระบบบัญชีที่พัฒนามาใช้ปฏิบัติภายในกลุ่ม ทำให้โครงการมีระบบการทำงานที่ชัดเจนและมีเอกสารสำคัญทางการบัญชี เพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี ทราบถึงระบบทางเดินเอกสาร มีผังบัญชีที่สามารถบอกรหัสกับรายการบัญชี ทำให้สามารถนำไปบันทึกและคันหาในระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น มีการบันทึกบัญชี ที่มีความน่าเชื่อถือบันทึกรายการได้ครบทุกรายการ เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ ทันเวลา มีรายงานทางการเงินตามแบบมาตรฐาน

Article Details

How to Cite
ท่าพิมาย เ. (2023). การประยุกต์ใช้ระบบบัญชีด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในโครงการผักบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(6), 33–48. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1771
บท
บทความวิจัย

References

ชิดชนก มากเชื้อ และ ชฎามาศ แก้วสุกใส. (2563). การพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้านดอนคัน ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(5), 89-100.

ดวงเดือน เภตรา. (2562). การพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มอาชีพทอเสื่อกกบ้านเหล่าไพรงาม ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 35(1), .

นันทวัจน์ ปัญญายศธนากรณ์. (2562). การพัฒนาระบบบัญชีวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรเลี้ยงกุ้ง ตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(3), 72-112.

รัตน์ชนก พราหมณ์ศิริ. (2555). การวางระบบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

วาทินี ศรีมหา. (2558). การพัฒนาวิธีการจัดทำบัญชีแบบมีส่วนร่วมของกองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลท่าแร่ จังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 7(13), 28-31.

วิไล วีรปรีย์ และจงจิตต์ หลีกภัย. (2551). ระบบบัญชี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเดช โรจน์ดุรีเสถียร และคณะ. (2549), Accounting System Design. พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ เพรส.

สรินยา สุภัทรานนท์. (2557). ระบบบัญชี: การบูรณาการการเรียนและบริการวิชาการเพื่อพัฒนาระบบบัญชี กรณีศึกษากลุ่มอาชีพ. ใน การประชุมวิชาการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52, หน้า 133-140. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุขุม โพธิสวัสดิ์. (2549). การวางระบบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สายธาร.

สุขเกษม ลางคุลเสน. (2553). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการนำระบบบัญชีมาประยุกต์ใช้กับกลุ่มร้านค้าชุมชน ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

สัจวัฒก์ วรโยธา. (2561). การพัฒนาระบบบัญชีในการบริหารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2), 81-89.