การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้า และความจงรักภักดี ของผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประเทศไทย

Main Article Content

สุดารัช แพงวาปี
รชต สวนสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าของโรงพยาบาลเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และ 2) ศึกษาการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1  เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร ได้แก่ ผู้รับบริการของโรงพยาบาลเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดบึงกาฬ มีโรงพยาบาลเอกชน รวม 7 แห่ง (กรณีไม่ทราบจำนวนประชากรที่แท้จริง) มีการทดสอบแบบสอบถามจำนวน 30 ตัวอย่าง จากนั้นทำการคำนวณหาค่า Partial เพื่อนำไปประมาณค่ากลุ่มตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power ได้จำนวน 160 ตัวอย่าง และเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage sampling method) ซึ่งได้ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ ขั้นตอนที่ 1 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยเลือกวิธีการจับฉลาก ซึ่งได้ตัวอย่างจาก 3 โรงพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลเอกอุดร โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร และโรงพยาบาลเมืองเลยราม ขั้นตอนที่ 2 ใช้วิธีการสุ่มแบบโควตา โดยการแจกแบบสอบถามให้กับผู้รับบริการของโรงพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลเอกอุดร จำนวน 60 คน โรงพยาบาลกรุงเทพอุดร จำนวน 50 คน และโรงพยาบาลเมืองเลยราม จำนวน 50 คน จนได้ตัวอย่างครบตามที่คำนวณได้  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และนำไปตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่า IOC เท่ากับ 0.984 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.934 สามารถนำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลได้  สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการที่ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานงานวิจัยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อคุณค่าตราสินค้าและความจงรักภักดี การทดสอบสมมติฐานโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิง ร้อยละ 60.62 มีอายุตั้งแต่ 21 – 40 ปี จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 49.37 อาชีพส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 51.25 มีช่วงรายได้ ตั้งแต่ 10,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 56.25 และส่วนใหญ่ใช้สิทธิประกันชีวิต คิดเป็นร้อยละ 46.25 และผลการทดสอบสมมติฐาน มีดังนี้ 1) ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการด้านการขาย โดยบุคคลและด้านการประชาสัมพันธ์ส่งผลทางบวกต่อคุณค่าตราสินค้าของผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ร้อยละ 53.30 (gif.latex?R^{2} เท่ากับ 0.533) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2) ปัจจัยทางการตลาดแบบบูรณาการด้านการขายโดยบุคคล ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการประชาสัมพันธ์ส่งผลทางบวกต่อความจงรักภักดีของผู้รับบริการโรงพยาบาลเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ร้อยละ 60.30 (gif.latex?R^{2} เท่ากับ 0.603) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจโรงพยาบาลและสถานบริการพยาบาล. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564. https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201903.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, ข้อมูลสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน (โรงพยาบาลเอกชน), สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563, จาก https://mrd-hss.moph.go.th/mrd1_hss/?p=1470.

ฉวีวรรณ ชูสนุก, พูมพงศ์ ภูมมะภูติ, อัมพล ชูสนุก, วทัญญู รัศมิทัต, อริสฬา เตหลิ่ม. (2560). อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการต่อคุณค่าสินค้า ความพึงพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้าในการเลือกซื้ออาคารชุด บรัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน). Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1). 223-250.

ณัชพล จรูญพิพัฒน์กุล. (2562). FACUSED AND QUICK (FAQ) Issue 163 ทำความรู้จักกับCLMV โอกาสทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ. ฝ่ายร่วมมือระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธนพล โตผาติ. (2562). อิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปาก การตลาดสื่อสังคมออนไลน์และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบันเทิงยามค่าคืนของนักท่องเที่ยวในเขตตลิ่งชัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555).การกำหนดขนาดตัวอย่างในการทดสอบสมมุติฐานวิจัย. สืบค้นเมื่อ 14กันยายน 2564, จาก http://lllskill.com/web/files/GPower.pdf/.

ศูนย์วิจัยออมสิน. (2562). ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564. https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2018/12/IN_hospital_12_61_detail.pdf.

สมฤทัย หาญบุญเศรษฐ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าในการใช้บริการระบบลิฟต์จอดรถยนต์อัตโนมัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2565. https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/โรงพยาบาลและสถานพยาบาล/2560/FullReport.pdf.

เหมสุดา สันติมิตร. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจรถจักรยายนต์บิ๊กไบค์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cohen J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press;

Hair, J.F., Hult, G.T.M., Ringle, C.M. and Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling, Sage, CA: Thousand Oaks.