ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

Main Article Content

กมลรัตน์ ป้อมสุวรรณ
ชลนที บูรรุ่งโรจน์
เอกชัย จารุเนตรวิลาส
อุษนีย์ ศรีสารคาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุ จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และการมีโรคประจำตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย และบึงกาฬ จำนวน 400 ราย สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที และสถิติการทดสอบเอฟ ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD


          ผลจากการวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุทั้งในภาพรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ส่วนทางด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ เพศที่แตกต่างกันไม่ส่งผลให้มีปัจจัยทางการตลาดที่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุ สถานภาพสมรสและการมีโรคประจำตัว ส่งผลให้มีปัจจัยด้านราคาและการส่งเสริมการตลาดที่แตกต่างกัน ในส่วนของการศึกษา อาชีพและรายได้จึงแตกต่างกัน ส่งผลให้มีความแตกต่างในด้านผลิตภัณฑ์ ราคาและการส่งเสริมการตลาด เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่มีปัจจัยใดส่งผลให้มีความแตกต่างทางด้านช่อง ทางการจัดจำหน่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2563). สถิติประชากรและบ้าน จำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByAge.php

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159.

กฤชวัฎ ลิมป์ สุทธิรัชต์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากลุ่มอาหารเสริมเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานคร ในช่วงวิกฤตการณ์ COVID-19. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชาติชาย นกดี. (2557). ห่วงอาหารเสริมแอบผสม'สเตียรอยด์. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/26796.

ทิพวรรณ ผิวผ่อง และ นาถรพี ตันโช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8(2), 60-74.

นฤมล จำรูญสุข. (2561). 3 เทคนิคตรวจ “สเตียรอยด์” ก่อนใช้ยาสมุนไพร. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565, จาก https://www.dmh.go.th/news-mh/view.asp?id=27501.

นัทธมน เดชประภัสสร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางอินเทอร์เน็ต. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันทิตา อินธรรมมา. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.

พรพิมล สัมพัทธ์พงศ์. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคใน จังหวัดนนทบุรี: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

วสุธิดา นุริตมนต์ และนันทพร ห้วยแก้ว. (2564). อิทธิพลของคุณลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ของผู้สูงอายุ: การทดสอบเชิงประจักษ์ความเป็นตัวแปรส่งผ่านของการรับรู้คุณค่า. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 58-71.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). โอกาสธุรกิจตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์ผู้สูงอายุ รองรับสังคมผู้สูงอายุของไทย. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2565, จาก https://www.kasikornbank.com/SiteCollectionDocuments/business/sme/knowledge/article/KSMEAnalysis/OlderLifestyle_SME/OlderLifestyle_SME.pdf.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). การสูงวัยของประชากร. สืบค้นเมื่อ9 เมษายน 2565, จาก https://ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/Index.aspx.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564, จาก statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. (2559). สภาพทั่วไปของกลุ่มจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2565, จาก http://www.osmnortheast-n1.moi.go.th/ud/index.php?option=com_content&view=article&id=54&Itemid=87.

สุริยะ พิศิษฐอรรถการ. (2556). ประเภทของอุปสงค์. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565 สืบค้นจาก http://econosuriya.blogspot.com/2012/11/blog-post_5592.html.

Griethuijsen, R. A. L. F., Eijck, M. W., Haste, H., Brok, P. J., Skinner, N. C., Mansour, N., et al. (2014). Global patterns in students’ views of science and interest in science. Research in Science Education, 45(4), 581–603.

Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.