ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางจัดจำหน่าย และ การสื่อสาร ที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจ และความภักดีของผู้บริโภคสบู่สมุนไพรในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

Main Article Content

ณิชยา ศรีสุชาต

บทคัดย่อ

จากวิกฤติโควิด-19 ที่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างใหญ่หลวงอันมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปรับตัวของธุรกิจทั่วโลก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจ และความภักดีของผู้บริโภคสบู่สมุนไพรในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 โดยทำการรวบรวมข้อมูลผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 380 ตัวอย่าง ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และทดสอบความสัมพันธ์จากการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการสื่อสารต่อความพึงพอใจ และความภักดีของผู้บริโภคสบู่สมุนไพรในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับความภักดีของผู้บริโภคของสบู่สมุนไพรในช่วงการแพร่ระบาดของโรควิด-19 เพียงตัวแปรเดียวในทิศทางเชิงบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (gif.latex?\beta) = 0.662 จึงสามารถสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และความภักดี และสามารถนำกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ไปวางแผนกลยุทธ์ในบริบทของวิกฤตโรคระบาดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สบู่ให้เหมาะสมกับความต้องการซื้อของผู้บริโภค โดยมุ่งเน้นเรื่องการผลิตสบู่ไม่ให้มีผลข้างเคียงต่อสุขภาพผู้บริโภค สบู่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และสบู่มีคุณภาพที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564 จาก http://www.dtam.moph.go.th/images/download/dl0021/MasterPlan-Thaiherb.pdf

กวิน มุสิกา และคณะ. (2556). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อทัศนคติในตราสินค้าของเครื่องสำอางไทยใน สปป.ลาว (กลาง). วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 8(2), 107-116.

กุลนันทน์ ศรีพงษ์พันธุ์. (2557). บทบาทของผลิตภัณฑ์ที่เน้นประโยชน์ใช้สอยและผลิตภัณฑ์เน้นความเพลิดเพลินทางอารมณ์ในงานวิจัย. วารสารบริหารธุรกิจ, 37(141), 34-47.

ชัยพร ศุภนิมิตวิเศษกุล และ ชวลีย์ ณ ถลาง. (2565). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดการท่องเที่ยว ภายใต้วิกฤตโควิด 19. วารสารร่มพฤกษ์, 40(2). 70-88.

ไทยรัฐออนไลน์. (2557). แบ่ง กทม. 6 โซนให้ ส.ก.ดูแล. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/461318

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิเวศน์ ธรรมะ (2562). ประสบการณ์การซื้อออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(1), 62-71.

ประชาชาติธุรกิจ. (2560). สบู่ 1.4 หมื่นล้านคึกแบรนด์ยักษ์ชิง “สมุนไพร”. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.prachachat.net/marketing/news-57482.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). นีลเส็นชี้หลังโควิด-19 จบ จับตาคนไทยเปลี่ยนหลายอย่าง. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564, จาก https://mgronline.com/business/detail/9630000039667.

พรทิพย์ ทองอ่อน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร OTOP ของผู้บริโภค ในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรรณิภา วิชัยพล, สุรินทร์ มรรคา และตะวัน วิกรัยพัฒน์ (2564). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรไทยของผู้บริโภคในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(41), 273-282.

พัสกร ลี้วิศิษฏ์พัฒนา และอนงค์ ศรีโสภา. (2563). การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทสบูู่สมุนไพรผ่านส่วนประสมทางการตลาด. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences, 21(1), 55-68.

วรเศรษฐ์ สุพรรณพงศ์ และ ตรีเนตร ตันตระกูล. (2563). อิทธิพลของตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับพฤติกรรมซื้อสบู่สมุนไพรออนไลน์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 328-344.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). ปัญหาการกักตุนสินค้าจำเป็นในช่วงวิกฤติการโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2564, จาก https://tdri.or.th/2020/02/covid-2/.

Anas, M., Khan, M.N., Rahman, O. and Uddin, S.M.F. (2022). "Why consumers behaved impulsively during COVID-19 pandemic?", South Asian Journal of Marketing, 3(1), 7-20.

Bangkokpost. (2020). Nielsen: FMCG pick up pace in pandemic. Retrieved November 18, 2021, from https://www.bangkokpost.com/business/1894595/nielsen-fmcg-pick-up-pace-in-pandemic.

Di Crosta, A., Ceccato, I., Marchetti, D., La Malva, P., Maiella, R., Cannito, L., Cipi, M., Mammarella, N., Palumbo, R., Verrocchio, M.C., Palumbo, R. & Di Domenico, A. (2021). Psychological factors and consumer behavior during the COVID-19 pandemic. PLoS ONE, 16(8): e0256095.

Despin T. (2020). Knock-on effects of COVID-19 on consumer behavior and how businesses can prepare for them. Retrieved September 1, 2022 from https://www.entrepreneur.com/article/350457.

Ernst & Young. (2020). Beyond Covid-19, what define the new normal. Retrieved September 1, 2022 from https://assets.ey.com/content/dam/ey-sites/ey-com/fi_fi/pdf/beyond-covid-19-what-will-define-the-new-normal.pdf.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Jaijid, M. (2017). Factors relationships with a customer loyalty of home-improvement modern trade store in Bangkok Metropolitan region. Panyapiwat Journal, 9(2), 1-11.

Kirishnan, A., & Nandhini, M.(2017). Factors Affecting the Purchasing Behaviour of Consumers in Ernakulam District with Special Emphasis on Bathing Soap. International Journal of Research in Arts and Science, 3(special issue), 11-15.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2018). Principle of marketing. United Kingdom: Pearson.

Kotler, P. (2009). Marketing management. (13th ed). New Jersey: Prentice-Hell.

Kotler, P. Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0. New Jersey: John Wilwy & Sons, Inc.

Mintel. (2021). Local pride: 51% of Thais say buying local products is an efficient way to boost the nation's economy. Retrieved November 18, 2021, from https://www.mintel.com/press-centre/social-and-lifestyle/51-of-thais-say-buying-local-products-is-an-efficient-way-to-boost-the-nations-economy.

Richard, M. O., & Chebat, J. C. (2016). Modeling online consumer behavior: Preeminence of emotions and moderating influences of need for cognitionand optimal stimulation level. Journal of Business Research, 69, 541–553.

Schiffman,L.G. & Wisenblit, J.L. (2015). Consumer behavior. United Kingdom: Pearson.

Shaari, H. (2020). Assessing brand health during COVID-19 pandemic: FMCGS brand loyalty in Malaysia. Journal of Critical Reviews, 7(8), 1623-1630.

U-on, V. (2014). The theory of consumer behavior. Retrieved November 18, 2020 from http://poundtv5.blogspot.com/2014/10/theory-of-consumer-behavior.html.