ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหาทางสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจร้านอาหารออนไลน์ในประเทศไทย

Main Article Content

วีรพงษ์ ศรีบุตรตา
อารีรัตน์ ปานศุภวัชร
นริศรา สัจจพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหาทางสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจร้านอาหารออนไลน์ในประเทศไทย ใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารออนไลน์ในประเทศไทย จำนวน 242 แห่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหาทางสื่อสังคมออนไลน์ ด้านความแม่นยำและความน่าเชื่อถือ ด้านสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าออนไลน์ และด้านเนื้อหาที่ทันสมัย มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จทางการตลาด ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารออนไลน์ในประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการกำหนดกลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหาทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านความแม่นยำและความน่าเชื่อถือ ด้านสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าออนไลน์ และด้านเนื้อหาที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตและความต้องการของลูกค้า ทำให้ธุรกิจสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
ศรีบุตรตา ว., ปานศุภวัชร อ., & สัจจพงษ์ น. (2023). ผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหาทางสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจร้านอาหารออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(2), 19–29. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1874
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ข้อมูลนิติบุคคล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/juristic/index.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). ธุรกิจร้านอาหาร บทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือน มกราคม 2565. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2565/T26/T26_201902.pdf.

ชานัตตา วงศ์ศิริ. (2564). ผลกระทบของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ร่วมสมัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนิน งานทางการตลาดของธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ. (2564). การตลาดเชิงเนื้อหาของสินค้าแฟชั่นในช่วงวิกฤติไวรัสวิด-19. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(2), 177 – 189.

ธงชัย ศรีวรรณะ. (2560). โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยความสอดคล้องทางภาพลักษณ์กลยุทธการตลาดเชิงเนื้อหาที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ติดตามเฟซบุ๊กธนาคารชั้นนำ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 256–266.

ธนกฤต เงินอินต๊ะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการตลาดออนไลน์กับความสำเร็จของการตลาดออนไลน์ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธมกร แสงวงสว่าง และเสาวลักษณ์ จิตติมงคล. (2564). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการตลาดของธุรกิจผ้าพื้นถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(2), 154 – 167.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). ธุรกิจร้านอาหารปีเสือพลิกโต 5-9.9% ฝ่า “โอไมครอน”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.prachachat.net/finance/news-835610.

สุตาภัทร คงเกิด. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเชิงเนื้อหาออนไลน์ของกลุ่มธุรกิจหัตถกรรมผ้าทอ จังหวัดเชียงใหม่. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(2), 239–254.

Black, K. (2006). Business statistics for contemporary decision marking. (4th ed.). USA : John wiley and Sons.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., and Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6 ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Maltz, A. C., Shenhar, A., and Reilly, R. R. (2003). Beyond the Balanced Scorecard:: Refining the Search for Organizational Success Measures. Journal of Long Range Planning, 36(2003), 187–204.

Seyyedamiri, N., and Tajrobehkar, L. (2019). Social content marketing, social media and product development process effectiveness in high-tech companies. Journal of Entrepreneurship, 16(1), 1–17.