การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการพัฒนาระบบธุรกิจหมากเม่าในจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

กรรณิการ์ สมบุญ
จิตติ กิตติเลิศไพศาล
ชนินทร์ วะสีนนท์
พิศดาร แสนชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาระบบ ธุรกิจหมากเม่าในจังหวัดสกลนคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เกษตรกร จำนวน 20 คน ผู้แปรรูป จำนวน 7 คน ผู้จัดจำหน่าย จำนวน 3 คน หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนส่งเสริม จำนวน 5 หน่วยงาน และกรรมการบริหารสมาคมหมากเม่าสกลนคร จำนวน 9 คน รวม 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหา 1) ด้านการผลิต ผลผลิตของหมากเม่ามีความไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวนค่อนข้างสูง ประกอบกับหมากเม่ามีลำต้นที่สูงและมีกิ่งเปราะหักง่ายทำให้เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวต้องอาศัยความชำนาญทักษะที่ประณีตของเกษตรกร ซึ่งการปลูกหมากเม่าในระยะสามปีแรกจะพบปัญหาแมลงศัตรูพืชทำลายต้นหมากเม่า อีกทั้งยังขาดข้อมูลสายพันธุ์หมากเม่าที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกร ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการยังขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยทำให้ผลิตภัณฑ์จากหมากเม่าขาดความหลากหลาย และมีเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ รวมถึงยังได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีเครื่องดื่มจากนโยบายของภาครัฐ ในขณะเดียวกันด้านการตลาดยังไม่มีการประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง ขาดช่องทางการตลาด รวมทั้งการกระจายสินค้ามีปัญหาด้านการขนส่งที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของหมากเม่าจะเสียหายระหว่างการขนส่ง ด้านสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่มีความต่อเนื่องและไม่มีนโยบายการสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจหมากเม่าอย่างจริงจัง 2) ความต้องการในการพัฒนาระบบธุรกิจหมากเม่า ด้านการผลิตผู้ปลูกต้องการพัฒนาระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพและต้องการความรู้ในด้านการจัดการผลผลิตให้ได้คุณภาพ ด้านการแปรรูป ผู้แปรรูปมีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนที่มีดอกเบี้ยต่ำเพื่อการดำเนินธุรกิจและต้องการให้มีการวิจัยและพัฒนาหมากเม่าเพื่อเป็นอาหารเสริม อีกทั้งต้องการให้มีการผ่อนปรนเรื่องกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการรายย่อย 3) ด้านการตลาดเกษตรกรหรือผู้แปรรูปต้องการมีตลาดหรือแหล่งรับซื้อที่แน่นอนและต้องการให้มีการผลักดันสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากหมากเม่าให้มีราคาสินค้าสูงขึ้นกว่าสินค้าปกติ 4) ด้านการสนับสนุนต้องการให้หน่วยงานของจังหวัดสกลนครทำงานด้วยความต่อเนื่องในการแก้ปัญหาร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีการจัดทำแปลงสาธิตเพื่อเรียนรู้หรือแก้ปัญหาร่วมกันในระดับพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดสกลนคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2558). ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์น้ำหมากเม่าสกลนคร. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2565, จาก https://www.ipthailand.go.th/th/gi-011/2.html.

คนพ วรรณวงศ์. (2564. 20 ตุลาคม). นายกสมาคมหมากเม่าสกลนคร. หมู่บ้านโพธิ์ชัยพัฒนา ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. สัมภาษณ์.

เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา กรรณิการ์ สมบุญ สุดารัตน์ สกุลคู ศิริพร สารคล่อง และสุเธียร นามวงศ์. (2558). สถานการณ์วัตถุดิบในธุรกิจหมากเม่าจังหวัดสกลนครกลยุทธ์และแนวทางการบริหารจัดการ. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563, จาก http://cheqa.rmuti.ac.th/rmuti_1500/ SAR2558/MG/MG_SAKON/lesson2/research6.pdf.

ทักษญา สง่าโยธิน. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 12(2). 11-26.

ธวัชชัย เศรษฐจินดา. (2560-2561). รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ในประเทศไทย. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรไทย วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ศิริรัตน์ เถื่อนสมบัติ. (2558). รายงานโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตมะเม่าพื้นที่จังหวัดสกลนคร. กรมวิชาการเกษตร: สกลนคร.

สุขุมาภรณ์ ศรีเผด็จ และ ศิริพร พุกหน้า. (2560). สถานการณ์การตลาดและการผลิตหมากเม่าอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร. วารสารแก่นเกษตร, 45(1). 1265-1271.

สุดารัตน์ สกุลคู. (2549). เม่าไม้ผลสมุนไพรทรงคุณค่าคู่สกลนคร. ใน สรุปผลการประชุมสัมมนาเทศกาลวันหมากเม่าจังหวัดสกลนคร ครั้งที่ 5. หน้า 3. สกลนคร. สมศักดิ์การพิมพ์.

สุดารัตน์ สกุลคู กรรณิการ์ สมบุญ และศิริพร สารคล่อง. (2559). การวิจัยการถอดบทเรียนการปลูกและการดูแลต้นหมากเม่า เพื่อการผลิตหมากเม่าอย่างมีคุณภาพ. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสกลนคร. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 5ปี (พ.ศ.2561-2565) สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2565, จาก http://sakonnakhon.go.th/2020/?page_id= 3346.

สมาคมหมากเม่าสกลนคร. (2564). รายงานการประชุมสมาคมหมากเม่าสกลนคร. 13 พฤษภาคม 2564. สกลนคร : สมาคมหมากเม่าสกลนคร.

Hoffmann,P, (2005). Antidesma in Malesia and Thailand. by Royal Botanic Gardens. Kew Richmond, Surrey, TW9 3AB,UK.