โมเดลการวัดองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกร อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กฤตติกา แสนโภชน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ตรวจสอบโมเดลการวัดองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกร อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 240 ราย ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกร มีจำนวน 4 องค์ประกอบ 14 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบแรก ทัศนคติ มี 4 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย การมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การใช้จ่ายอย่างรอบคอบ ไม่ฟุ่มเฟือย ความจำเป็นในการจัดทำบัญชีครัวเรือน และการวางแผนการเงินที่เหมาะสม องค์ประกอบที่สอง ความร่วมมือของสมาชิกในครอบครัว มี 4 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย การให้ความร่วมมือในการจัดทำบัญชีครัวเรือน การให้ความสำคัญของการจัดทำบัญชีครัวเรือน การแบ่งเวลาในการจดบันทึกข้อมูล และการปฏิบัติตามหลักการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างสม่ำเสมอ องค์ประกอบที่สาม ทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ มี 3 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน ความเข้าใจในหลักการจัดทำบัญชีครัวเรือน และทักษะความชำนาญในการจัดทำบัญชีครัวเรือน องค์ประกอบที่สี่ การรับรู้ประโยชน์ มี 3 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย การวางแผนทางการเงินของครอบครัว การรับรู้รายได้และรายจ่ายของครอบครัว และการเพิ่มรายได้สุทธิและเงินออมของครอบครัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตติกา แสนโภชน์. (2565). รายงานการวิจัยกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู และตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ฐณดม ราศีรัตนะ, เข็มพร สุ่มมาตย์, ธนัย ศรีอิสาณ และ จุทารัตน์ คุมทุม. (2559). ความสัมพันธ์ของการจัดทำบัญชีครัวเรือนกับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(36), 61-69.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสาหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(มกราคม – ธันวาคม), 375-396.

ปาริชาติ มณีมัย, ชลันธร ศรีธรรมโชติ, ภัทรพล วรรณราช และ ระวิวรรณ สุขพิลาภ. (2561). การจัดทำบัญชีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีเกษตรกรในพื้นที่โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารพัฒนาสังคม, 20(2), 17-33.

ผกามาศ มูลวันดี. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือนที่มีต่อคุณภาพชีวิตในครอบครัวของเกษตรกรบ้านหนองตาไก้ อำบลลุมปุ๊ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 11(2), 26-40.

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). “บัญชีครัวเรือน” เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 20-28.

สรียา วิจิตรเสถียร. (2557). การพัฒนาแบบฟอร์มและกระบวนการจัดทำบัญชีครัวเรือน ตามแนวเศรษฐกิจแบบพอเพียง. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 8(1), 95-118.

สำนักงานเกษตรอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. (2565). ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2565, จาก http://kutchap.udonthani.doae.go.th/index1.htm.

แสดงเดือน อยู่เกิด และ ชลิต ผลอินทร์หอม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มศิลปหัตถกรรมในเขตจังหวัดภาคกลาง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติในความร่วมมือ 5 สถาบัน ประจำปี 2563 “BUSINESS ACROSS CRISIS”, หน้า 359 – 368. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารยา อึงไพบูลย์กิจ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1 “วิจัยเพื่อสร้างสรรค์ชุมชนและสังคม”, หน้า 976 – 986. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

Alias, N., Bakar, N. A., Sadique, R. M., & Haron, N. H. (2016). Household Accounting: Road to Economic Resilience. The Social Sciences, 11(20), 4912-4917.

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: Wliey.

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating Structural Equation Models with Unobservable Variables and Measurement Error. Journal of Marketing Research, 18(1), 39–50.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis. (7th ed.). Harlow, United Kingdom: Pearson Education.

Joreskog, K. D., and Sorbom, D. (1989). Lisrel 7: User’s Reference Guide. Chicago: Scientific Software International.

Kelloway, E. K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage Publications.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hall.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Steiger, J. H., (2007). Understanding the limitation of global fit assessment in structural equation modeling. Personality and Individual Differences, 42(5), 893-898.