ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เดอะ เลจเจนท์ แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

ชนิษฐา ใจเป็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการบริการและความพึงพอใจ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพการบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เดอะ เลจเจนท์ แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เข้ามาพักและใช้บริการร้านอาหาร บริการจัดเลี้ยง และการจัดงานประชุม ใช้การสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (Convenience Sampling) จำนวน 428 คน วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการบริการในการเข้าพักและใช้บริการ เดอะ เลจเจนท์ แม่กลอง อยู่ในระดับมาก ในขณะที่ด้านความพึงพอใจในการใช้บริการ พบว่า ความพึงพอใจการใช้บริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความสัมพันธ์ของคุณภาพการบริการและความพึงพอใจในการเข้าพักและใช้บริการ เดอะ เลจเจนท์ แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพบริการ ด้านสิ่งที่สัมผัสได้จากที่พักและพนักงาน ด้านการตอบสนองของพนักงาน และด้านการเอาใจใส่ต่อลูกค้า มีผลต่อ ความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการ เดอะ เลจเจนท์ แม่กลอง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
ใจเป็ง ช. (2023). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เดอะ เลจเจนท์ แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(2), 57–66. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1879
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ทวินันท์ และ แววมยุรา คำสุข. (2558). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในธุรกิจการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 151-167.

กฤติยา ทองคำ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการโรงแรม 3 - 5 ดาวในภาคใต้ประเทศไทยของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชั่นวาย. สารนิพนธ์ ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

จงกล บุญพิทักษ์. (2552). คุณภาพการบริการของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์จังหวัดสมุทรสงคราม สำหรับนักท่องเที่ยวประเภทฝึกอบรมและสัมมนา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพดล ชูเศษ และคณะ. (2561). องค์ประกอบคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9, หน้า 1567-1585. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด19. วารสารศิลปะศาตร์และอุตสาหกรรมการบริการ, 4(1), 160-167.

สวรรยา อินทร์จันทร์. (2560). ปัจจัยด้านคุณภาพในการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า:กรณีศึกษาโรงแรมอิสระระดับ 3 ดาวแห่งหนึ่ง ในย่านธุรกิจทองหล่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

Wang, J., & Cheng, L. (2012, July). The relationships among perceived quality, customer satisfaction and customer retention: An empirical research on Haidilao restaurant. In ICSSSM12, pp. 749-754. IEEE.

Liao, K. H., & Hsieh, M. F. (2011). Statistic exploring the casual relationships between service quality, brand image, customer satisfaction and customer loyalty on the leisure resort industry.

In Service Management (IRSSM-2) in 2011 proceedings of the 2nd International Research Symposium. (pp. 506-515). [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]