สภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนาธุรกิจโคขุนในจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ศิริพร สารคล่อง
พิศดาร แสนชาติ
ชนินทร์ วะสีนนท์
จิตติ กิตติเลิศไพศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนาธุรกิจโคขุนในจังหวัดสกลนคร การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสหกรณ์การเลี้ยงสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ (377 ราย) โดยวิธีการแบ่งชั้นภูมิอย่างมีสัดส่วน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ผลการศึกษาสภาพทั่วไปพบว่า สมาชิกสหกรณ์มีประสบการณ์สูงในการเลี้ยงโคขุน ส่วนใหญ่ใช้วิธีการเลี้ยงโคขุนแบบขังคอกและส่งโคขุนขายต่อให้กับสหกรณ์เป็นหลัก ใช้ทุนส่วนตัวร่วมกับการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน การกำหนดราคาโคเข้าขุนและราคาโคขุนส่งเชือดมีความเหมาะสม สำหรับผลการศึกษาประเด็นปัญหาและความต้องการในการพัฒนาธุรกิจโคขุน ดังนี้ 1) ด้านระบบผลิตโคขุน พบว่า ต้นทุนการเลี้ยงโคขุนมีแนวโน้มสูงขึ้น มีข้อเสนอแนะในการแก้ไข ได้แก่ สหกรณ์ต้องวางแผนและกำหนดโควตาและระยะเวลาการขุนโคที่เหมาะสม และสมาชิกควรผลิตลูกโคพันธุ์ดีและผลิตอาหารข้นราคาถูกใช้เองภายในฟาร์ม 2) ด้านการบริหารจัดการสหกรณ์ พบว่า การบริหารจัดการธุรกิจเป็นปัญหาหลัก มีข้อเสนอแนะในการแก้ไข ได้แก่ คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ควรได้รับการพัฒนาทักษะเชิงการบริหาร การจัดการ และการตลาดเชิงรุก และเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารงานของสหกรณ์ 3) ด้านการจัดการตลาดโคขุน พบว่า ยอดขายเนื้อโคขุนมีแนวโน้มต่ำลง มีข้อเสนอแนะในการแก้ไข ดังนี้ สหกรณ์ต้องวางแผนการขยายตลาดเนื้อโคขุนทั้งในและต่างประเทศ และต้องควบคุมมาตรฐานของสินค้า และ 4) ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ พบว่า การสนับสนุนจากภาครัฐยังไม่เพียงพอ มีข้อเสนอแนะในการแก้ไข ได้แก่ ภาครัฐควรมีนโยบายส่งเสริมการบริโภคเนื้อและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ออกกฎหมายที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกเนื้อและผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศ และควรจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับสมาชิกสหกรณ์

Article Details

How to Cite
สารคล่อง ศ., แสนชาติ พ., วะสีนนท์ ช., & กิตติเลิศไพศาล จ. (2023). สภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนาธุรกิจโคขุนในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(2), 67–82. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1880
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์พร เจ้าทรัพย์. (2562). ระบบการบริหารจัดการโซ่อุปทานเนื้อโคขุนโพนยางคำเพื่อความสามารถในการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

นราวุธ ระพันธ์คำ, หาญชัย อัมภาผล, ชุมพล ทรงวิชา, ธราดล จิตจักร, เรืองฤทธิ์ หาญมนตรี, จักรพรรดิ ประชาชิต, เฉลิมโรจน์ ชัยสิทธิ พัฒนา และชนกนันท์ ศรีลาพัฒน์. (2557). โครงสร้างการผลิต ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของการเลี้ยงโคขุน จังหวัด สกลนคร. โคขุนสกลนคร มาตรฐานสู่ครัวฮาลโลก สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย ราชภัฎสกลนคร.

ประคอง กรรณสูต. (2535). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรศาสตร์. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณราย ละตา, จันทร์เพ็ญ ธงไชย, ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์ และ รวิ กลางประพันธ์. (2563). ความยั่งยืนในการดำเนินงานของสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(1), 82-92.

สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด. (2558). รายงานประจำปี 2558. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2559. สกลนคร: สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด.

สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด. (2563). รายงานประจำปี 2563. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ. 2564. สกลนคร: สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด.

สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร. (2562). รายงานประจำปี 2562. สกลนคร: สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร.

สิทธินันท์ วิวัฒนาพรชัย, กมลรัตน์ ถิระพงษ์ และ พัชรี สุริยะ. (2564). การวิเคราะห์มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการเลี้ยงโคขุน: กรณีศึกษาสหกรณ์การ เลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด. แก่นเกษตร, 50(2), 371-383.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

SPSS. (1998). SPSS for Windows, Release 9.0, SPSS inc., IL.

Yamane, T. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.