อิทธิพลของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงาน ของธุรกิจด้วยการวัดผลเชิงดุลยภาพ: กรณีศึกษาบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็น สมาชิกสภาอุตสาหกรรมภาคใต้

Main Article Content

ปทุมพร หิรัญสาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้บัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์และผลการดำเนินงานของธุรกิจด้วยการวัดผลเชิงดุลยภาพ และอิทธิพลของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจด้วยการวัดผลเชิงดุลยภาพ กรณีศึกษาของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ ข้อมูลในการวิจัยเก็บรวบรวมด้วยแบบสอบถามจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ จำนวน 316 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้บัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์และผลการดำเนินงานของธุรกิจด้วยการวัดผลเชิงดุลยภาพอยู่ในระดับมาก และการประยุกต์ใช้บัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ด้านการวางแผน ด้านการสั่งการ และด้านการตัดสินใจ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจด้วยการวัดผลเชิงดุลยภาพ ผลลัพธ์จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมภาคใต้ควรให้ความสำคัญของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินงาน เพื่อทำให้ใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
หิรัญสาลี ป. (2023). อิทธิพลของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงาน ของธุรกิจด้วยการวัดผลเชิงดุลยภาพ: กรณีศึกษาบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็น สมาชิกสภาอุตสาหกรรมภาคใต้. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(2), 83–97. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1883
บท
บทความวิจัย

References

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว. (2558). คุณภาพของข้อมูลทางบัญชีบริหารนวัตกรรมทางการบริหาร การเพิ่ม ผลผลิตและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคเหนือของ ประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 8(1), 47-66.

กรณิศา ดิษฐ์เสถียร. (2562). คุณสมบัติและกรอบความรู้นักบัญชีบริหารในประเทศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี, 1(1), 32-42.

คณะกรรมการอุตสาหกรรม 4.0. (2559). การยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0). กรุงเทพฯ: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.

ทิพย์สุดา ทาสีดำ. (2565). ผลกระทบของประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจำกัดในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(3), 55 -67.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). สรุปภาพรวมภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2557. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/BLP_Report50/BLP_Q257.pdf.

ธีระ โลสันตา และ ขจิต ณ กาฬสินธุ์. (2564). ผลกระทบของการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(6), 59-71.

นิตยา โพธิ์ศรีจันทร์ และ ศิริวรรณ เพชรไพร. (2022). ผลกระทบของการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชี บริหารเชิงรุกที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครพนม. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 9(1), 19-30.

ภูบดินทร์ อุ่นดำรงค์การ, ธัญปวีณ์ รัตนพงศ์พร, สมบัติ ธำรงสินถาวร และอัมพล ชูสนุก. (2564). ความได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานขององค์การ: มุมมองของทฤษฎีมุมมองฐานทรัพยากร. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(2), 119-134.

รัชนี เล่าโรจนถาวร, ดาลัด ฌลาคุณสิริสิน, กรรณิการ์ มานะกล้า, & พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2021). ระบบการควบคุมภายในส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจSMEs ในเขต กรุงเทพมหานคร. Rattanakosin Journal of Social Sciences and Humanities, 3(3), 13-24.

รุสลี นุห์ ธวัช นุยผอม และอริศ หัสมา. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานทางธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนฮาลาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารบริหารธุรกิจ, 43(168), 58-82.

วีระวรรณ ศิริพงษ์. (2017). การใช้บัญชีบริหารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจังหวัด สงขลา. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 15(1), 59-72.

วรรณี เตโชโยธิน, สมชาย สุภัทรกุล และมนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2563). การบริหารต้นทุน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซนเตอร์.

วราภรณ์ นาคใหม่ และสมยศ อวเกียรติ. (2558). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจในเขตภาคกลาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 7(1), 39-53.

ศิริเพชร สุนทรวิภาต. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบัญชีการจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารด้านบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการขับเคลื่อนผลการดำเนินงาน. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 83-105.

สุกฤษตา พุ่มแก้ว และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเงินโดยข้อมูลบัญชีบริหารของกลุ่มอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย: ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(3), 399-407.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). การบัญชีบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: แมคกรอ-ฮิล.

หยาดพิรุฬห์ สิงหาด และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารกับความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2), 373-383.

อนุชา ถาพะยอม. (2564). การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์เป็นวิธีการที่มีคุณค่าสำหรับการบรรลุความยั่งยืนขององค์กร: หลักฐานจากธุรกิจอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง. วารสารวิชาชีพบัญชี, 17(53), 98-125.

อนุชา พุฒิกูลสาคร และปาลวี พุฒิกูลสาคร. (2564). ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานเชิงดุลยภาพ: การตรวจสอบเชิงประจักษ์ธุรกิจโรงแรมระดับสี่และห้าดาวในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(4), 148-164.

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2562). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารในการจัดการธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(1), 59-70.

Aaker, D.A., Kumar,V., & Day,G. S. (2001). Marketing Research. New York: John Wiley & Sons

Adu-Gyamfi, J., Yusheng, K. & Chipwere, W. (2020). The Impact of Management Accounting Practices on the Performance of Manufacturing Firms; An Empirical Evidence from

Ghana. Research Journal of Finance and Accounting, 11(20), 100-113.

Ahmad, I., & Ahmad, S. B. (2019). The mediation effect of strategic planning on the relationship between business skills and firm’s performance: Evidence from medium enterprises in Punjab, Pakistan. Opción: Revista de Ciencias Humanasy Sociales, (24), 746-778.

Alvarez, T., Sensini, L., Bello, C., & Vazquez, M. (2021). Management accounting practices and performance of SMEs in the Hotel industry: Evidence from an emerging economy. International Journal of Business and Social Science, 12(2), 24-35.

Armstrong, J.S.& Overton, T. S.(1977).Estimating nonresponse bias in mail surveys. Journal of marketing research, 14(3), 396-402.

Barney, J. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of management, 17(1), 99-120.

Dang, L., Le, T., Le, T., & Pham, T. (2021). The effect of strategic management accounting on business performance of sugar enterprises in Vietnam. Accounting, 7(5), 1085-1094.

Dearman, D., Lechner, T. A., & Shanklin, S. B. (2018). Demand for management accounting information in small businesses: Judgment performance in business planning. International Journal of the Academic Business World, 12(1), 93-102.

George, B., Walker, R. M., & Monster, J. (2019). Does strategic planning improve organizational performance? A meta‐analysis. Public Administration Review, 79(6), 810-819.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2018), Multivariate Data Analysis, 8th ed., Cengage Learning, EMEA, Andover, Hampshire.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (1996). Linking the balanced scorecard to strategy. California management review, 39(1), 53-79.

Simmonds, K. (1982). Strategic management accounting for pricing: a case example. Accounting and Business Research, 12(47), 206-214.

Tran, N. H. (2022). Factors Impacting on Managerial Accounting Implication: Evidence from Vietnamese Smes. Journal of Positive School Psychology, 6(8), 319-329.