การจัดการเทคโนโลยีสะอาดที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการใน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย

Main Article Content

ณัฐนิชา ไชยบัณฑิต
ปริณภา จิตราภัณฑ์
บุญธรรม ราชรักษ์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแนวทางการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมและความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงธุรกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการผลิตนั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ภาคธุรกิจควรต้องมีความตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินการผลิตร่วมกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเทคโนโลยีสะอาดที่ส่งผลกระทบต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยโดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการกิจการในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย จำนวน 400 แห่ง เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเทคโนโลยีสะอาดด้านกระบวนการผลิตส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความสามารถในการแข่งขันทุกด้าน ได้แก่ ด้านภาพลักษณ์ ด้านผลการประกอบการ และด้านความพึงพอใจ ส่วนการจัดการเทคโนโลยีสะอาดด้านผลิตภัณฑ์ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความสามารถในการแข่งขันเพียงสองด้าน คือ ด้านภาพลักษณ์ และด้านความพึงพอใจ สำหรับด้านผลประกอบการมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแต่ไม่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (Cleaner Technology-CT) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564, จาก http://www2.diw.go.th/ctu.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). เทคโนโลยีสะอาด Clean Technology. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564, จาก https://datacenter.deqp.go.th/service-portal/g-green/greenlearningcenter/clean-technology/clean-technology/

ชัญญาภัค หล้าแหล่ง. (2558). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของกลยุทธ์นวัตกรรมสีเขียว: หลักฐานเชิงประจักษ์ของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ISO 14001. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปกร.

วรดี จงอัศญากุล. (2554). การจัดการองค์กรอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา. (2561). การจัดการเทคโนโลยีสะอาดที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันและความยั่งยืนขององค์กรของธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 184-196.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). วารสารเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/main.php?filename=economic_magazine.

สัญญา ยิ้มศิริ, แววมยุรา คำสุข และ มรกต กำแพงเพชร. (2562). ตัวแบบสมการโครงสร้างของการจัดการโซ่อุปทานสีเขียว ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารในประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เสาวลักษณ์ โงชาฤทธิ์. (2555). ผลกระทบของการจัดการเทคโนโลยีสะอาดที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจสิ่งทอในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อภิญญา วนเศรษฐ. (2559). แนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมของคุซเน็ตส์ (Environmental Kuznets Curve). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564, จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom21/home.html.

Alam, S.M.S., & Islam, K.M.Z. (2021). Examining the role of environmental corporate social responsibility in building green corporate image and green competitive advantage. International Journal of Corporate Social Responsibility, 6(8), 1-16.

Jay B. Barney. (1997). Gaining and Sustaining Competitive Advantage. (4th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Jongsriwattanaporn, B., & Lalaeng, C. (2003). Causal Factor and Outcomes of Creating Competitive Advantages in the Digital Age of LMG Insurance Co., Ltd. Asian Administration and Management Review, 6(1), 117-129.

Klaprabchone, K., Chengseng, S., Prapho, T., Lissani, S., & Sangsawang, B. (2019). External Factors Affecting Sustainable Competitive-Advantage of Community Enterprises. Enterprises. Asian Administration and Management Review, 2(2), 126-135.

Nakwichian, P., & Suwannaphirom, S. (2003). The Success of Small and Medium Enterprises in Creating Competitive Advantages in Bangkok and Its Vicinity. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(6), 14.

Richard B. Chase, F. Robert Jacobs, & Nicholas J. Aquilano. (2006). Operations Management for Competitive Advantage (11th ed.). New York: The McGraw-Hill.

Salem, M.A., Shawtari, F., Hussain, H.B.I., &Shamsudin, M.F. (2020). Environmental technology and a multiple approach of competitiveness. Future Business Journal, 6(17), 1-14.

Sharma, A., & Narula, S.A. (2020). What motivates and inhibits Indian textile firms to embrace sustainability. Asian Journal of Sustainability and Social Responsibility, 5(6), 1-23.

UN Environment Programme, (2021). Why do the Sustainable Development Goals matter?. In Sustainable Development Goals. https://www.unep.org/explore-topics/sustainable-development-goals/why-do-sustainable-development-goals-matter.

Vu, H.T., & Pham, L.C. (2016). A dynamic approach to assess international competitiveness of Vietnam’s garment and textile industry. Springer Plus, 5(203), 1-13.