การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการการจัดส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ปฏิญญา รัตนนุกรม
ธรรมวิมล สุขเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการการจัดส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี (2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการการจัดส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าบางส่วนที่มีประสบการณ์ในการใช้บริการการจัดส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัย และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในตัวผู้บริโภค คือ ปัจจัยด้านจิตวิทยา มี 5 ตัวแปร ทุกข้อคำถามในทั้ง 5 ตัวแปร มีเพียง 1 ปัจจัย กล่าวคือ ทุกข้อคำถามที่อยู่ในปัจจัยนั้น ๆ อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของตัวแปรได้ ดังนี้ แรงจูงใจ ร้อยละ 54.45 บุคลิกภาพ ร้อยละ 47.95 การรับรู้ ร้อยละ 61.66 การเรียนรู้ ร้อยละ 55.22 และทัศนคติ ร้อยละ 58.52 และ 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกตัวผู้บริโภค ประกอบด้วย (1) ปัจจัยด้านสังคม มี 3 ตัวแปร ได้แก่ กลุ่มอ้างอิง ครอบครัว และชนชั้นทางสังคม (2) ปัจจัยด้านเทคโนโลยี มี 2 ตัวแปร ได้แก่ ระบบสัญญาณและความเร็วของอินเทอร์เน็ต และความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า รวมทั้งหมด 5 ปัจจัย พบว่า ทุกข้อคำถามในทั้ง 5 ตัวแปร มีเพียง 1 ปัจจัย กล่าวคือ ทุกข้อคำถามที่อยู่ในปัจจัยนั้น ๆ อยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของตัวแปรได้ดังนี้ กลุ่มอ้างอิง ร้อยละ 69.98 ครอบครัว ร้อยละ 75.31 ชนชั้นทางสังคม ร้อยละ 60.57 ระบบสัญญาณและความเร็วของอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 72.64 และความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า ร้อยละ 60.94 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยภายในตัวผู้บริโภคและภายนอกตัวผู้บริโภค มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับกระบวนการตัดสินใจใช้บริการจัดส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยภายในตัวผู้บริโภค (gif.latex?\beta=0.65, p-value < 0.05) มีอิทธิพลมากกว่าปัจจัยภายนอกตัวผู้บริโภค (gif.latex?\beta=0.27, p-value < 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสถิติเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณรงค์ชัย บุญตา. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธันยมัย เจียรกุล. (2559). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปของไทยของวัยรุ่นชาวจีนที่มาศึกษาในประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 43-60.

ธาวินี จันทร์คง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้โมบายแอพในการสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปวีณ โชคนุกูล. (2560). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำของผู้บริโภคในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ลัลน์ลลิตา ทองบาง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันซ้ำในธุรกิจบริการสั่งอาหาร ออนไลน์ กรณีศึกษา แกร็บฟู้ด ในกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วุฒิ สุขเจริญ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). K SME Analysis อยากกินต้องได้กิน SME ร้านอาหารปรับรับ Food Delivery. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.

สสินาท แสงทองฉาย. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทยในการเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารในเขตกรุงเทพมานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพิชา แซ่อุ่ย. (2557). ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการจัดส่งอาหารส่งตรงถึงบ้าน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

อำพล นววงศ์เสถียร. (2557). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภคในร้านค้าออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 134-149.

Ibusiness. (2020). ชิงฟูดดีลิเวอรี 7.4 หมื่นล้าน บิ๊กเชนจัดทัพกรำศึก. April 11, 2021, from https://ibusiness.co/detail/9630000118159

Simon Kemp. (2020). Digital 2020: Global Digital Yearbook. April 11, 2021, from https://datareportal.com/reports/digital-2020-global-digital-yearbook?rq=2020

Thanakrit Kitthanadeachaorn. (2016). Customer Buying Decision Process Using Online Platform for Online Food Delivery in Thailand. An Independent Study of Master of Science Program in Marketing Thammasat University.