ปัจจัยการตลาดและการบริหารจัดการที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นประเภทอาหาร ของประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการตลาดและปัจจัยการบริหารจัดการ 2) เปรียบเทียบปัจจัยการตลาดและปัจจัยการบริหารจัดการตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดกับปัจจัยการบริหารจัดการที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นประเภทอาหาร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี จำนวน 390 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการตลาดและปัจจัยการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน 2) เปรียบเทียบปัจจัยการตลาด พบว่า เพศไม่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภค แต่อายุมีผลต่อการตัดสินใจด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาด ส่วนอาชีพ มีผลต่อการตัดสินใจด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ส่วนระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือนมีผลต่อการตัดสินใจทุกด้าน สำหรับปัจจัยการบริหารจัดการ พบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์กร และด้านการควบคุม โดยอายุ รายได้ต่อเดือน สถานภาพมีผลต่อการตัดสินใจบริโภคทุกด้าน 3) ปัจจัยการตลาดและปัจจัยการบริหารจัดการมีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างปัจจัยการตลาดและปัจจัยการบริหารจัดการ โดยความสัมพันธนั้นอยู่ในระดับสูง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2565). รายงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. สืบค้น สิงหาคม 25, 2565 จาก http://cddata.cdd.go.th/apps/bigdata/otop1.html.
กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (2565). โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น. สืบค้น ธันวาคม 31, 2565 จาก https://plan.nsru.ac.th/storage/document/60c194980d2f8.pdf.
ชนิสรา แก้วสวรรค์. (2564). การพัฒนาศักยภาพด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตเกษตรอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 10(2), 92-108.
ชาณาณินฐ์ สัจจชยพันธ์. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยการบริหารวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(9), 176-192.
ณัฐสุดา ชูศรี, ธนภรณ์ พึ่งบุญไพศาล, และเมษ์ธาวิน พลโยธี. (2565). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับสินค้าของฝากประเภทปลาส้ม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(62), 43-51.
ณัตตยา เอี่ยมคง. (2565). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 7(1), 9-20.
ณัษฐนนท ทวีสิน และธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์. (2562). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และการพัฒนาเทคนิคการบริการหลังการขายของผู้ประกอบการธุรกิจประเภทจำหน่ายและซ่อมคอมพิวเตอร์ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(2), 58-73.
ปณชัย ชัยมาลิก และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานของผู้ประกอบการร้านชาพะยอม. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 6(5), 53-67.
ประสิทธชัย เดชขำ, ธนัชชา ขำศรี, และสุทธิศักดิ์ แสวงศักดิ์. (2565). ปัจจัยสวนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระลึกที่เกี่ยวเนื่องกับการทองเที่ยว ในจังหวัดนาน. วารสารมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 17(1), 14-25.
สุภมาส อังศุโชติ. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน (หน่วยที่ 6). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และสมชาย หิรัญกิตติ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
อรณิชา ฮวบหิน, รุจศิริ สัญลักษณ, บุศรา ลิ้มนิรันดกุล, และพรสิริ สืบพงษสังข์. (2564). การพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสิงหบุรี. วารสารผลิตกรรมการเกษตร, 3(3), 43-56.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Kotler, P. & Keller, K.L. (2012). Marketing Management (14th ed.). New Jersey: Pearson Education.
Likert, R. (1970). New Patterns of management. New York: McGraw-Hill.
Nunnally, J.C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.