แนวทางการพัฒนากลุ่มสัมมาชีพชุมชนผลิตเกลือสินเธาว์สู่ความยั่งยืนในพื้นที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ณัฐวุฒิ เหมากระโทก
บุษกร สุขแสน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนากลุ่มสัมมาชีพชุมชนผลิตเกลือสินเธาว์ในพื้นที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนากลุ่มสัมมาชีพชุมชนผลิตเกลือสินเธาว์ในพื้นที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้แนวทางการพัฒนากลุ่มสัมมาชีพชุมชนผลิตเกลือสินเธาว์ในพื้นที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ในระยะที่ 1 ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่มสัมมาชีพชุมชนผลิตเกลือสินเธาว์ จำนวน 152 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในระยะที่ 2 ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบบันทึกสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปภาพรวม เป็นการเลือกแบบเจาะจง และในระยะที่ 3 ใช้การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพการพัฒนากลุ่มสัมมาชีพชุมชนผลิตเกลือสินเธาว์ในพื้นที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ด้านกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่ครัวเรือนยากจนในการประกอบอาชีพ 2) มีการส่งเสริมให้นำความรู้ด้านอาชีพไปทดลองใช้ และ 3) มีการสาธิต ฝึกอาชีพให้ครัวเรือนยากจน ด้านกระบวนการจัดการ ได้แก่ 1) มีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน 2) การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น สังคม และ 3) ครัวเรือนยากจนได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพ 2. แนวทางการพัฒนากลุ่มสัมมาชีพชุมชนผลิตเกลือสินเธาว์ ในพื้นที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม ได้แก่ 1) ด้านกระบวนการเรียนรู้ จำนวน 3 กิจกรรม และ 2) ด้านกระบวนการจัดการ จำนวน 3 กิจกรรม 3. การประเมินแนวความเหมาะสมและความเป็นไปได้แนวทางการพัฒนากลุ่มสัมมาชีพชุมชนผลิตเกลือสินเธาว์ในพื้นที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือสูงกว่า 3.51 ถือว่าแนวทางผ่านเกณฑ์การประเมิน สามารถนำไปใช้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ปี 2561. กรุงเทพฯ: บีทีเอส เพรส.

ชบาไพร ชัยหาเนตร์ และ ภักดี โพธิ์สิงห์. (2563). การสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 11(1), 48-56.

ชมพู อิสริยาวัฒน์ และ ธิดารัตน์ คีมกระโทก. (2561). สัมมาชีพตามวิถีชีวิตชุมชนปัญหาและแนวทางพัฒนาเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ในระดับครัวเรือนของประชาชน อําเภอปะคา จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 2(3), 25-37.

ที่ทำการปกครองอำเภอบ้านดุง. (2560). ข้อมูลพื้นฐานอำเภอบ้านดุง. อุดรธานี: ที่ทำการปกครองอำเภอบ้านดุง.

ธีรฉัตร เทียมทอง และ เพ็ญณี แนรอท (2561) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารการบริหารปกครอง, 7(2), 245-265.

ธีรวุฒิ เอกะกูล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นงกต สวัสดิชิตัง. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บัวทอง สูงสุมาลย์. (2564). ผลการจัดเก็บและรับรองคุณภาพข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) ระดับองค์กรส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2564 อำเภอบ้านดุง. อุดรธานี: สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านดุง.

ประเวศ วะสี. (2557). ปฏิรูปสังคม: ชุมชนเข้มแข็ง สังคมเข้มแข็ง พลังพลเมืองเข้มแข็ง หัวใจของการปฏิรูปประเทศใหม่. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

รัชนี รูปหล่อ, ดุษฎี พรหมทัต และวัลภา ว่องวิวิธกุล. (2561). แนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและเจริญเติบโตของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร (ฉบับพิเศษ), 158-171.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2537). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันการพัฒนาชุมชน. (2562). รายงานการศึกษา ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระปฏิรูปที่ 28: การปฏิรูประบบเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง: แผนปฏิรูปสัมมาชีพชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำเริง จันทรสุวรรณ. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิทธิชัย จินดาหลวง. (2560, 11 พฤษภาคม). รองผู้ว่าราชการจังหวัด. อ.เมือง จ.อุดรธานี. สัมภาษณ์.

Madaus, G. F., Scriven, M. S., & Stufflebeam, D. L. (1983). Evaluation models viewpoints on educational and human services evaluation. (8th ed.). Boston: Khuwer-Nijhoff.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (1990). Systematic Evaluation. Boston: Kluwer–Nijhoff.