ศึกษาความต้องการที่อยู่อาศัยโครงการจัดสรรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Main Article Content

พิศมัย นวะพิศ
พงษ์ศักดิ์ ทนงธนะสิทธิ์
เสริมพันธ์ เอี่ยมจะบก
สิทธิพร พันธุระ
อภิรักษ์ ลอยแก้ว
ณัฐ อมรภิญโญ

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่องศึกษาความต้องการที่อยู่อาศัยโครงการจัดสรรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) และความต้องการนวัตกรรมที่อยู่อาศัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และเพื่อเสนอเป็นแนวทางแก่ ผู้ประกอบการถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีอย่างแท้จริง และสามารถนำไปวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และแบบออนไลน์ในช่วงวันที่ 15 เมษายน - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีที่มีความสนใจที่จะซื้อบ้านหรือมีประสบการณ์ในการซื้อบ้านจัดสรรในเขตจังหวัดอุดรธานีจำนวน 285 คน การวิเคราะห์ด้านประชากรศาสตร์ และพฤติกรรมผู้บริโภค ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนการทดสอบสมมติฐานใช้ Independent Sample T-Test และ One-Way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐานด้านประชากรศาสตร์ และใช้การทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในการทดสอบสมมติฐาน


          ผลการศึกษาดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31 - 40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส ลักษณะที่อยู่อาศัยปัจจุบันเป็นบ้านตัวเอง จำนวนคนที่อยู่อาศัยในครอบครัว 3 - 4 คน กิจกรรมหลังเลิกงานและวันหยุดคือพักผ่อนอยู่บ้าน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท/เดือน การเดินทางไปทำงานโดยรถยนต์ส่วนตัว สังกัดหน่วยงานคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อบ้านมากกว่า 3 ปี วัตถุประสงค์ในการซื้อบ้านเพื่อแยกครอบครัว บุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อบ้านคือตนเอง ราคาบ้านที่ต้องการซื้อคือ 2,000,001 - 3,000,000 บาท  รูปแบบที่อยู่อาศัย คือบ้านเดี่ยวชั้นเดียว3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 2 ที่จอดรถ แหล่งข้อมูลของโครงการบ้านจัดสรรคือ ป้ายโฆษณาตามจุดต่าง ๆ เหตุผลในการพิจารณาเลือกซื้อบ้านจัดสรรลำดับ 1 คือ ราคา รองลงมาคือ ขนาดและพื้นใช้สอยของบ้าน และโปรโมชั่นจากทางโครงการหรือสิ่งอำนวยความสะดวก ลงมาตามลำดับ ในการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรพิจารณาถึงความพึงพอใจต่อภาพรวม ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีความคิดเห็นด้วยมากที่สุดคือ การติดตั้งกล้องวงจรปิดตามจุดต่าง ๆ ภายในโครงการมีจำนวนที่เพียงพอ ปัจจัยด้านราคาความคิดเห็นด้วยมากที่สุดคือ เงื่อนไขการชำระเงินควรมีความเหมาะสม (การวางเงินจอง การวางเงินดาวน์) ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ความคิดเห็นด้วยมากที่สุดคือ การให้ข้อมูลระบบทางออนไลน์ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดความคิดเห็นด้วยมากที่สุดคือ แถมฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งภายใน เหตุผลในการพิจารณาเลือกซื้อบ้านจัดสรรด้านนวัตกรรมเพื่ออยู่อาศัย ด้านประหยัดพลังงานคือ ติดตั้ง Airflow System สำหรับระบายอากาศ ด้านระบบรักษาความปลอดภัยคือ ระบบประตูหน้าต่างติดสัญญาณกันขโมยเมื่อมีการเปิด – ปิด ด้านระบบสั่งการ คือ ระบบควบคุมการเปิด - ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอัตโนมัติในบ้าน ด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุคือ ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้อยู่อาศัยในบ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจนจิรา ปราณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านจัดสรรในเขตจังหวัดชลบุรี วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณินท์นราย์ มโนทิพย์. (2562). แนวคิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยสมาร์ทโฮม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปพิชญา สอนสงวนวงษ์ และ กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2563). ปัจจัยการตลาดเกี่ยวกับเทคโนโลยีบ้านอัจฉริยะของผู้บริโภคในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เขตภาคตะวันออกของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ศศิพร บุญชู. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของโครงการบ้านจัดสรรในพื้นที่เขตอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนัสรีย์ เพชรขุ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค ในอำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.