แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมวิถีผู้ไท ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

Main Article Content

พิศดาร แสนชาติ
จิตติ กิตติเลิศไพศาล
ชาติชัย อุดมกิจมงคล
ศราวุธ ผิวแดง
สืบชาติ อันทะไชย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมวิถีผู้ไทของตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมวิถีผู้ไท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบศึกษาเฉพาะกรณีโดยใช้กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมายหลักในการวิจัย คือ ประชาชนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมที่สมัครใจร่วมเป็นนักวิจัยชุมชน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง บันทึกการสนทนากลุ่ม บันทึกการประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วม บันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า 1) บริบทและศักยภาพทุนทางวัฒนธรรมวิถีผู้ไทของตำบลนาโสก ประกอบด้วย ภาษาผู้ไท การแต่งกาย ดนตรีและการฟ้อนรำ อาหารพื้นบ้าน และงานบุญประเพณี 2) แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมวิถีผู้ไทตำบลนาโสก ประกอบด้วยแนวทางหลักสำคัญ 2 ด้าน คือ การผลิตและแปรรูปสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และการบริการท่องเที่ยวชุมชนวิถีผู้ไท

Article Details

How to Cite
แสนชาติ พ., กิตติเลิศไพศาล จ., อุดมกิจมงคล ช., ผิวแดง ศ., & อันทะไชย ส. (2023). แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมวิถีผู้ไท ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(5), 21–31. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2604
บท
บทความวิจัย

References

ดวงมณี นารีนุช และคณะ. (2552). โครงการการฟื้นฟูอัตลักษณ์การแต่งงานของคนภูไทเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการแต่งงาน : กรณีศึกษาคนภูไทบ้านนาโด่ ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ถาวร เผ่าภูไทย. (2561). แนวทางการฟื้นฟูสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยววิถีชาวนาของชนเผ่า ผู้ไทบ้านนาโสก ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เทศบาลตำบลนาโสก. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565 ของเทศบาลตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. มุกดาหาร: สำนักงานเทศบาลตำบลนาโสก.

ธนูศิลป์ อินดาและคณะ. (2562) การศึกษาทุนเดิมและศักยภาพของชุมชนเพื่อการจัดการการท่องเที่ยววิถีไทพวนบ้านกลาง ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิศดาร แสนชาติ. 2563. โครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนจากทุน 3 ธรรม วิถีผู้ไท ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร”. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

พุทธพล ญาติปราโมทย์ และคณะ. 2562. เศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรมผู้ไท. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2562, จาก http://www.km.khaowongshop.com/images/240161/khis4.pdf.

ภาณุรังษี เดือนโฮ้ง. (2550). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหารให้เป็นเมืองท่องเที่ยวชายแดน. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2561). สรุปข้อมูลกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่บ้านเหล่าป่าเป้ด ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้โครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมการพัฒนาศักยภาพเชิงพื้นที่ในท้องถิ่น. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (พ.ศ.2561-2564). สกลนคร: สำนักงานกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2

สุรสิทธิ์ สูตรสุวรรณ และการุณย์ บัวเผื่อน. (2558). วิถีชีวิตชาวผู้ไทย ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(2), 79-86.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), 17-29.