กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด ในอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด ในอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด ในอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด ในอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่บริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดที่ดำเนินการผลิตและจัดจำหน่ายภายในท้องถิ่นเขตอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลกที่มีอายุ 20 ปีขึ้น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นขั้นตอน (Multi-stage Sampling) โดยผู้วิจัยประสงค์เลือกกลุ่มตัวอย่างจาก 5 ตำบลที่มีประชากรสูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ตำบลหนองกะท้าว ตำบลเนินเพิ่ม ตำบลนครไทย ตำบลบ้านแยง และตำบลนาบัว เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผ่านแบบสอบถาม 400 คน โดยการทดสอบคุณภาพเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-Test) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยมีช่วงอายุ 40-49 ปี มากที่สุด ส่วนมากมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3-5 คน พฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ระดับความจำเป็นของน้ำดื่มบรรจุขวดอยู่ในระดับกลาง ให้ความสำคัญกับความสะอาดเป็นประเด็นสำคัญในการเลือกซื้อ หาซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากร้านค้าใกล้บ้านเป็นส่วนใหญ่ มีตัวเองเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อ มีการเลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดปริมาณ 600 มล. มีความถี่ในการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ ส่วนใหญ่ซื้อน้ำดื่มอยู่ 2-3 ยี่ห้อ สลับกันไปแล้วแต่ความสะดวก ถ้าในอนาคตน้ำดื่มบรรจุขวดราคาสูงขึ้นจะซื้อเครื่องกรองน้ำแทน และ มีความคิดเห็นว่าควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านคุณภาพน้ำดื่มให้ได้มาตรฐาน อย. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันในด้านเพศไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด แต่อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด และ 2) กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวด ในอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
จันฑิสา ศิริสุนทร. (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จิราวัฒน์ อุรุพงษ์สานนท์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดของผู้บริโภค ในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(3), 31-44.
บริษัท มาร์เก็ตอินโฟ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จ้ากัด. (2560). ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวด. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก http://www.marketinfo.co.th/.
ปรีชา วรารัตน์ไชย. (2562). แนวทางพัฒนาทางการตลาดธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวดของผู้ประกอบการขนาดย่อมในระดับท้องถิ่น. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเซน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 21(2), 169-180.
พงษ์จิรัฐ จึงนิธิเกียรติ. (2558). การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พัชรินทร์ สมพุฒิ. (2552). พฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของประชาชนในตำบลตลาดใหญ่ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
พัชรินทร์ อินต๊ะสงค์. (2548). พฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
พูลพันธ์ มังคละคีรี. (2551). การศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกใสของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2565). แนวโน้มธุรกิจอุตสาหกรรม ปี 2565-2567 อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2565, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Food-Beverage/Beverage/IO/io-beverage-2022.
ศุภโชค ปานดำ. (2563). ความคิดเห็นต่อน้ำดื่มบรรจุขวดและพฤติกรรมการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566, จาก https://ka.mahidol.ac.th/seniorx2020/pdf_file/5924276.pdf.
สิริอนงค์ ถนอมกุลบุตร. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดของผู้บริโภคในอำเภอพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สุระกิจ กันเกตุ. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดของน้ำดื่มบรรจุขวดภายใต้โครงการของมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(1), 193-195.
Kotler, P. (2003). Marketing management. (11th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Schiffman, L.G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior. (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.