ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ประภาภรณ์ รัตโน
อรัญ อรัญมาตย์
สุธัญญา กฤตาคม
เชษฐพัฒน์ สิริวัฒนตระการ
นนทิพัฒน์ นนทิพัฒน์ ไชยโสดา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของประเพณี การสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวประเพณีบุญผะเหวด และศึกษาความสัมพันธ์ บทบาทหน้าที่ของประเพณี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวประเพณีบุญผะเหวด กับการสื่อสารเพื่อการสืบทอดประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมงานประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี 2562 จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีบุญผะเหวดมีบทบาทหน้าที่ทำให้ตระหนักถึงหลักคำสอนของพุทธศาสนา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.14 การสื่อสารเพื่อการสืบทอดประเพณีบุญผะเหวด ด้านผู้ส่งสาร พบว่า การสื่อสารเพื่อการสืบทอดประเพณีบุญผะเหวด ควรสื่อสารด้วยการสร้างสื่อบุคคลเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว เช่น มัคคุเทศก์น้อย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 ด้านเนื้อหาสาร พบว่า การสืบทอดประเพณีบุญผะเหวดควรสืบทอดทั้งรูปแบบและคุณค่าของประเพณีควบคู่กันไป อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 ด้านช่องทางการสื่อสาร พบว่า การใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ประเพณีบุญผะเหวดควรใช้สื่อพื้นบ้าน สื่อบุคคลเพื่อให้เข้าถึงคนท้องถิ่นมากขึ้น อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.04 ด้านผู้รับสาร พบว่า การสื่อสารเพื่อการสืบทอดประเพณีบุญผะเหวดควรขยายกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกจังหวัด และ การสื่อสารไปยังกลุ่มผู้นำทางความคิดในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เพจท่องเที่ยว,ผู้เขียนเว็บบล็อกท่องเที่ยว ผู้ผลิตรายการวีดิโอท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.05 บทบาทหน้าที่ของประเพณี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวประเพณีบุญผะเหวด มีความสัมพันธ์กับการสื่อสารเพื่อการสืบทอดประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ดมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2548). สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาภาพรวมจากงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

คณะกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกงานบุญผะเหวด. (2543). หนังสือที่ระลึกงานบุญผะเหวด.กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานนท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นาตยา บุตรอยู่.(2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิติธร ทองธีรกุล. (2551). กระบวนการสื่อสารของชุมชนในการสืบทอดประเพณีผีปู่ย่า ต.วอแก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 5(1), 22-43.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระใบฎีกาสะอาด สุทธิญาโณ เฉลียว บุรีภักดี สมนึก ชูปานกลีบ และสุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์. 2564). การรับรู้ข้อมูลการสื่อสารในการเข้าร่วมกิจกรรมของวัดเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาของวัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(1), 15-31.

พระมหาประสพชัย มหาปรกฺกโม (ไชยะโส) และนุสรา คินาพิทย์. (2563). บุญผะเหวด : ศรัทธา ความหวัง บนพื้นฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ของชาวอีสาน. วารสารศึกษิตาลัย, 1(1), 1-12.

พวงชมพู ไชยอาลา. (2559).การศึกษาอัตลักษณ์และการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสระบัว.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(3), 121-136.

ภาคภูมิ สุขเจริญ. (2564). สถานภาพและบทบาทของประเพณีท้องถิ่นจังหวัดพิษณุโลก. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 12(2), 178-200.

สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ.2561– 2565 ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ.2564. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.roiet.go.th/ckfinder/userfiles/images/PDF/plan_2565/plan_2561_2565.pdf.

อมรรัตน์ แปงนา และอุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. (2558) การสื่อสารเพื่อการคงอยู่และการเปลี่ยนแปลงคุณค่าประเพณีแห่น้ำช้าง ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 2(1), 125-139.

อัจฉราภรณ์ วรรณมะกอก และอัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2566).การสื่อสารเพื่อรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรมไทยอง ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 27(1), 165-176