รูปแบบการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของบุคลากรโรงพยาบาลอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 300 ราย สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ระยะที่ 2 มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม จำนวน 12 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อสรุปเป็นรูปแบบการป้องกันโรค ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการป้องกันโรคมี จำนวน 7 รูปแบบ ได้แก่ การเสริมสร้างการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การเสริมสร้างการรับรู้ต่ออุปสรรคในการปฏิบัติ การเสริมสร้างการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกัน การเสริมสร้างการรับรู้ความรุนแรงของโรค การเสริมสร้างการป้องกันโรคด้านวิธีการปฏิบัติในการทำงาน การเสริมสร้างการป้องกันโรคด้านการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการเสริมสร้างการป้องกันโรคด้านอื่น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
เชาวรินทร์ คำหา และ พงษ์เดช สารการ (2563). โมเดลสมการเชิงโครงสร้างพหุระดับตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อความตั้งใจเข้าร่วมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงของประชากร อายุ 5-74 ปี อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 33-46.
ดนุชา สลีวงศ์ และ ณัตตยา เอี่ยมคง. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2355-2371.
ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ และ สกุนตลา แซ่เตียว. (2561). พฤติกรรมการป้องกันและการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่ม อาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของบุคลากรสายสนับสนุน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37), 69-83.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 380-381.
ปาจรา โพธิหัง, นนทกร ดำนงค์ และ อโนชา ทัศนาธนชัย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรมกับพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิตซินโดรม ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(2), 235-250.
พัชรินทร์ สังวาล, พรรณสุกิตต์ ทาทอง และ ลานนา หมื่อนจันทร์. (2564). ผลของการออกกำลังกายแบบมณีเวชต่อกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมของพนักงานสายสนับสนุนที่ทำงานในสำนักงานของมหาวิทยาลัย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 14(2), 251-263.
โรงพยาบาลอุดรธานี. (2565). โครงสร้างหน่วยงาน. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.udh.go.th/new2016/?page_id=58
โรงพยาบาลอุดรธานี. (2566). ผลการสำรวจภาวะสุขภาพบุคลากรของโรงพยาบาลอุดรธานี. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). กรมควบคุมโรค ชวนพนักงานออฟฟิศปรับ 3 ป. ลดปวดเมื่อยลดเสี่ยงจากโรคออฟฟิศซินโดรม. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2565, จาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/113832/
Bollen, K. A., (1989). Structural equations with latent variables. New York: Wiley.
Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications? Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.
Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A., (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis. (7th Ed.). Harlow, United Kingdom: Pearson Education.
Kelloway, E. K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage.
Rosenstock, I. M. (1974). Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education Monographs, 2(4), 328–335.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum.