การประเมินผลการดำเนินงานภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน กรณีศึกษา กลุ่มจูวีฟาร์มแพะ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน กลุ่มจูวีฟาร์มแพะ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประชากร ได้แก่ เกษตรกรที่มีความเชื่อมโยงหรือเป็นสมาชิกกลุ่มจูวีฟาร์มแพะ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมจำนวน 29 คน โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกต และแบบประเมิน ตลอดจนใช้แบบจำลองซิปเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลการประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มจูวีฟาร์มแพะ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีการดำเนินงานหลักของกลุ่ม ได้แก่ การเลี้ยงแพะเพื่อการจำหน่าย และการรับซื้อแพะเพื่อการจำหน่าย โดยรายได้หลักของกลุ่มมาจากการจำหน่ายแพะและการชำแหละแพะ นอกจากรายได้หลักแล้วกลุ่มยังมีรายได้เสริมจากการจำหน่ายมูลแพะอีกด้วย สำหรับการเลี้ยงแพะของกลุ่มเป็นการเลี้ยงแบบขังคอกในลักษณะหมุนเวียน ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มจูวีฟาร์มแพะที่ได้รับการพัฒนายกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ภายใต้โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน ได้แก่ 1) การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เนื้อแพะสวรรค์ และเนื้อแพะแดดเดียว 2) การพัฒนาตัวบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ โลโก้กลุ่ม บรรจุภัณฑ์เนื้อแพะสวรรค์ และบรรจุภัณฑ์เนื้อแพะแดดเดียว และ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเนื้อแพะสวรรค์ และผลิตภัณฑ์ต้นแบบเนื้อแพะแดดเดียว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่าย และมีการตลาดเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เนื้อแพะสวรรค์และเนื้อแพะแดดเดียว รวมถึงการอบรมโครงการส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดนและการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำผลิตภัณฑ์เนื้อแพะสวรรค์และเนื้อแพะแดดเดียวให้กับสมาชิกกลุ่มจูวีฟาร์มแพะและผู้สนใจ สำหรับการประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า ผลการดำเนินงานในภาพรวมประสบความสำเร็จอยู่ในระดับดี ส่วนผลการประเมินแต่ละด้านอยู่ในระดับดีมากและระดับดี ประกอบด้วย ด้านผลที่ได้รับและด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านบริบทและด้านกระบวนการอยู่ในระดับดี ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา บัวทองเรือง และจิรัชญา บุญช่วย. (2561). วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินจากการลงทุนเลี้ยงแพะขุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรัง. วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว. (2562). ประเมินผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมจากผลการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/683.

วรรณกร ชัยรัตน์. (2563). กรมปศุสัตว์ส่งเสริมการเลี้ยงแพะให้แก่เกษตรกรจังหวัดชายแดนภาคใต้(4/2563). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก http://secretary.dld.go.th/webnew/index.php/th/news-menu/dld-editorial-menu/5917-4-2563.

วาณี ศิลประสาทเอก และประทุม มะลิเครือ. (ม.ป.ป.). การประเมินผลกิจกรรมส่งเสริมการเลี้ยงแพะ ภายใต้โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก http://region7.dld.go.th/webnew/images/region7-2562/Yuttasart/Academic_work/2559/52559.pdf.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจท้องถิ่น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2562). โครงการประเมินผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ วิถีหนองบัวลำภู ตามหลักเกษตร-ศาสตร์พระราชา ประจำปีงบประมาณ 2562. ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจท้องถิ่น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุวรรณา ทองดอนคำ และคณะ. (2563). โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร (การเพิ่มมูลค่าการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่จังหวัดยะลา). กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Laxmi. (2021). Converting Percentage to GPA Out of 10. Retrieved February 14, 2022, from https://www.learncram.com/calculator/converting-percentage-to-gpa-out-of-10/.

Stufflebeam, D. L. (1993). The CIPP Model for Program Evaluation. In Evaluation Models. Boston: Kluwer-Nijhoff Publishing.