อิทธิพลของทักษะในการทำงานต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลของทักษะในการทำงานต่อผลการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่างผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (N = 285) มีเพียง 240 คนที่ตอบแบบสอบถามและทำการประเมินระดับทักษะในการทำงานและผลการปฏิบัติงานในแต่ละประเด็นคำถามในแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุเชิงเส้นตรง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทักษะในการทำงานโดยรวม ด้านเทคนิค และด้านการคิดเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และมีผลการปฏิบัติงานโดยรวม ด้านการปฏิบัติงาน ด้านคุณภาพผลงาน และด้านปริมาณผลงานอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ทักษะในการทำงานด้านมนุษยสัมพันธ์และด้านการคิดมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). ความสำคัญของผู้ทำบัญชีต่อธุรกิจในยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล. สืบค้น 23 เมษายน 2566, จาก https://www.myaccount-cloud.com/Article/Detail/88467.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2566). รายชื่อสำนักงานบัญชีในแต่ละจังหวัด. สืบค้น 11 มกราคม 2566, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469403169.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://cio.mhesi.go.th/sites/default/files/document_download_file/1467115019.pdf.
กานดา จันทร์แย้ม. (2565). ทักษะที่จำเป็นสำหรับเยาวชนเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในยุคศตวรรษที่ 21: กรณีศึกษา ภาคใต้ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(3), 127-137.
จันทัปปภา ปุณยวิทิตโรจน์, ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์ และธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ทำบัญชี. สืบค้น 25 กันยายน 2566, จาก https://incbaa.kku.ac.th/img/files/articles/e441d-9.c9-149.pdf.
ณัฐวุฒิ สิ้นเคราะห์. (2564). อิทธิพลของทักษะวิชาชีพบัญชีที่มีต่อความพร้อมในการทำงานด้านบัญชีนิติเวชของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธราพร บุตรสาร, ญาณินท์ ตั้งภิญโญพุฒิคุณ และไตรรงค์ สวัสดิกุล. (2561). ผลกระทบของบรรยากาศในการทำงานเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(5), 31-41.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุษรา จันทร์ลอย, ฐนันวริน โฆษิตคณิน และนิกข์นิภา บุญช่วย. (2565). ประสิทธิภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีในธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 139-152.
ปรัศนี กายพันธ์ และนธี เหมมันต์. (2557). ผู้ทำบัญชีไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารการจัดการ, 3(3), 14-21.
พิมพ์ ฉัตรเงิน และกุสุมา ดําพิทักษ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพและแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชี รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 162-171.
ภัทราจิตร แสงสว่าง และวิญญู วีระนันทาเวทย์. (2558). ความคาดหวังของผู้ประกอบการต่อการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 25(2), 55-70.
รวิวรรณ อรรถกรวิกรัย. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างลกัษณะของผู้ทำบัญชี ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศและความสำเร็จในสายงานบัญชี: กรณีศึกษา ผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีในประเทศไทย. งานนิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วรพล จันทะขันธ์. (2563). ผลกระทบของทักษะผู้ทำบัญชีคุณภาพที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ทำบัญชีองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วสันต์ ครองมี, ปุณยวีร์ ยังดี และพุฒิสรรค์ เกตุมรรค. (2563). ผลกระทบของทักษะผู้ทำบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการด้านบัญชีจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(1), 67-86.
วินัย ปณิธานรักษ์ชัย. (2563). อิทธิพลของทักษะด้านภาษีอากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ทางอีเมลของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(2), 121-131.
ศศิธร ภูสีฤทธิ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สรัญญา จันทร์ชูสกุล และ พินดา วราสุนันท์. (2563). การประเมินทักษะการปฏิบัติ: จากหลักการสู่แนวทางการปฏิบัติ, วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(2), 36-56.
สายฝน อุไร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพบัญชีกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(1), 49-68.
สุภารักษ์ สุจารี และพรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2565). อิทธิพลของทักษะนักตรวจสอบภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษี ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1529-1545.
อนงค์วรรณ อุประดิษฐ์. (2566). ระบบการควบคุมภายในที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 6(1), 138-153.
อรอุษา ด้วงช้าง และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 223-230.
อลงกรณ์ มีสุทธา และสุมิตร สัชฌุกร. (2551). การประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินโดยใช้ Competency. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
Accrevo. (2022). บัญชีและข้อมูลทางบัญชีมีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ?. สืบค้น 1 มีนาคม 2566, จาก https://www.accrevo.com/articles/item/315.
Alsughayera, S.A., & Alsultanb, N. (2023). Expectations Gap, Market Skills, and Challenges of Accounting Education in Saudi Arabia. Journal of Accounting, Finance and Auditing Studies, 9(1), 22-60.
Amtaudit. (2023). งานบัญชีหัวใจหลักขององค์กร. สืบค้น 1 มีนาคม 2566, จาก https://www.amtaudit.com/view_news.php?id=283.
Andrews, J., & Higson, H. (2008). Graduate Employability, ‘Soft Skills’ Versus ‘Hard’ Business Knowledge: A European Study. Higher Education in Europe, 33(4), 411-422.
Barišić, I., Novak, A., & Sever Mališ, S. (2022). Skills Required of Professional Accountants: Evidence from Labour Market in Croatia. Ekonomski Vjesnik/Econviews, 35(2), 383-396.
Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making (7th ed.). USA: John Wiley & Sons.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297–334.
Hayes, S., Freudenberg, B., & Delaney, D. (2022). Work ready graduates for Australian small and medium Accounting firms. Journal of Teaching and Learning for Graduate Employability, 13(1), 1–19.
Katz, R.L. (1995). “Skill of an Effective Administrator”. Harvard Business Review.
MyAccount. (2019). ความสำคัญของนักบัญชีต่อธุรกิจในยุคระบบเศรษฐกิจและสังคม ดิจิทัล. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.myaccount-cloud.com/Article/Detail/88467.
Rorinelli, R.J. & Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(1), 49-60.