ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและความจงรักภักดีต่อการใช้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ภาพลักษณ์องค์กร และความจงรักภักดีต่อการใช้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ จาก 9 เมือง ได้แก่ เมืองจันทบุรี เมืองศรีโคตรบอง เมืองไชยเชษฐา เมืองศรีสัตนาค เมืองนาทรายทอง เมืองชัยธานี เมืองหาดทรายฟอง เมืองสังข์ทอง และเมืองปากงึ่ม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยขั้นแรกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 9 เมือง และขั้นที่สองใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา ตามสัดส่วนของจำนวนประชากรแต่ละเมือง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่ายโทรคมนาคม ประกอบด้วย จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานงานวิจัยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เพื่อทดสอบสมมติฐานงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า เหตุผลหลักของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์คือ เครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการอย่างทั่วถึง ความเร็วที่ใช้ในการเชื่อมอินเตอร์เน็ตและค่าบริการ/โปรโมชั่นมีความเหมาะสม เมื่อทดสอบสมมติฐานงานวิจัย ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วย 6 ด้านที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรได้แก่ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านบุคคลากร ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านกระบวนการ และมี 5 ด้านที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านบุคคลากร ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรกรต มธุรพจน์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครือข่าย ดีแทค ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร. (2564). สถิติ MTC. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จากhttps://mpt.gov.la/index.php?r=site/contents&id=15.
กิตติ คล้ายมาก และ ไกรชิต สุตะเมือง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านคุณภาพของสัญญาณ, ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ, ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4(2), 549 - 552.
ชลลดา ไชยกุล. (2555). ภาพลักษณ์องค์กร คุณค่าตราสินค้า และความพึงพอใจในส่วนประสม ทางการตลาดธุรกิจบริการที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดิษวัชร ลอแต. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เทอดธนัท สีเขียว และ บรรพต วิรุณราช. (2562). แนวทางการแก้ไขปัญหาการวางระบบติดตั้งโครงข่ายสายสื่อสารโทรคมนาคม ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิตยา พาขุนทด. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้บริการกับกลยุทธ์ทางการตลาดของตู้เติมเงินโทรศัพท์มือถือออนไลน์ ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
ปริษนา มาสารี. (2555). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภควัยทำงาน ในการเลือกใช้ธุรกิจบริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วัลย์ลิกา จาตุประยูร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2564). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.posttoday.com/aec/scoop/649444.
สรญา เข็มเจริญ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุชาวดี ดำรงเถกิงเกียรติ์, วอนชนก ไชยสุนทร และ สิงหะ ฉวีสุข. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารการบริหารและการจัดการ, 9(2), 27-40.
อภิญญัพัทร์ กุสิยารังสิทธิ์. (2560). การสร้างคุณค่าร่วมที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 14 - 29.
อรวิภา พงศ์สุวรรณ. (2564). การรับรู้ส่วนประสมทางการตลาด (7P’s) ของผู้ใช้บริการศูนย์บริการเอไอเอส ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis, Seventh edition, Pearson new international edition.
ITU Telecom. (2022). Committed to connecting the world, Retrieved September 10, 2022, from https://www.itu.int/en/itutelecom/Pages/default.aspx.
Kim, M., Kim, S., & Lee, Y. (2010). The effect of distribution channel diversification of foreign luxury fashion brands on consumers’ brand value and loyalty in the Korean market. Journal of Retailing and Consumer Services, 17(4), 286-293.
Kotler, P. (2000). Marketing Management: Analyzing Consumer Marketing and Buyer Behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.
Rahman, M. S. (2012). Service quality, corporate image and customer’s satisfaction towards customers perception: an exploratory study on telecom customers in Bangladesh. Business Intelligence Journal, 5(1), 56-63.