กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

อรทัย ผาพัง
บุษกร สุขแสน
ประภาพร สุปัญญา

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อกำหนดกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย และ 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ดำเนินการ 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 338 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 กำหนดกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยว เชิงเกษตรภายใต้ชีวิตวิถี ใหม่ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 12 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปภาพรวม ระยะที่ 3 การประเมินกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยว เชิงเกษตรภายใต้ชีวิตวิถี ใหม่ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่จังหวัดหนองคาย พบปัญหา 5 ด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ลำดับที่ 1 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ลำดับที่ 2 ด้านความสามารถในการเข้าถึง ลำดับที่ 3 ด้านสิ่งที่ดึงดูด ลำดับที่ 4 ด้านที่พัก และลำดับที่ 5 ด้านกิจกรรม 2. กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยว เชิงเกษตรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ โครงการ/กิจกรรม การประเมินผล ได้แก่ 1) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก จำนวน 3 กิจกรรม 2) ด้านความสามารถในการเข้าถึง จำนวน 2 กิจกรรม 3) ด้านสิ่งดึงดูดใจ จำนวน 2 กิจกรรม 4) ด้านที่พัก จำนวน 2 กิจกรรม และ 5) ด้านกิจกรรม จำนวน 2 กิจกรรม 3. การประเมินกลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย พบว่า ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 3.51 ถือว่ากลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยว เชิงเกษตรภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ผ่านเกณฑ์การประเมิน สามารถนำไปใช้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=521.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). ข้อมูลด้านการทางท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2565, จาก https://secretary.mots.go.th/policy/more_news.php?offset=0&cid=26&startoffset=0.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวชาวไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ทะนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ. (2563). "New Normal" วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19 : การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 14(3), 371-386.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรัชญา บุญเดช และ แสงแข บุญศิริ. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวถ้ำเลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 122-138.

ราณี อิสิชัยกุล. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม และ ชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 9(1), 234-259.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566, จาก https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/.

สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย. (2560). การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. หนองคาย: สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย.

สำนักงานจังหวัดหนองคาย. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดหนองคาย พ.ศ.2561 – 2565 (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565). หนองคาย: สำนักงานจังหวัดหนองคาย.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). โครงการพัฒนาระบบและจัดทำบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อนัญญา ปาอนันต์. (2560). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อรรถพล ศิริเวชพันธุ์. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานความปกติใหม่ (New Normal) เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ชุมชนหนองฮะ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 58-75.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill.