ผลกระทบของศักยภาพของนักบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชีสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

รุ่งรัศมี รัชสมบัติ
อรรถพล หมู่มี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพของนักบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชีสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักวิชาการเงินและบัญชีสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 195 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของนักบัญชี ด้านทักษะทางวิชาชีพ และด้านความละเอียดรอบคอบ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพการปฏิบัติงาน ดังนั้น ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม ควรให้ความสำคัญกับศักยภาพของนักบัญชี โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงศักยภาพของนักบัญชีสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม ให้มีทักษะด้านวิชาชีพบัญชีที่ดีเป็นที่ยอมรับ มีความชำนาญในงานด้านบัญชี มีความละเอียดรอบคอบ ปฏิบัติงานด้วยความถูกต้องภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับของวิชาชีพบัญชี ส่งผลให้งานที่ได้รับมอบหมายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว. (2558). คุณภาพของข้อมูลทางบัญชีบริหารนวัตกรรมทางการบริหาร การเพิ่มผลผลิตและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(1), 47-66.

กานดา แซ่หลิว. (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี ในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พจน์ พจนพาณิชย์กุล. (2556). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2556, จาก https://sites.google.com/site/potarticle/02.

พนิดา เกรียงทวีทรัพย์ และสุรมงคล นิ่มจิตต์. (2561). รูปแบบสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร : กรณีศึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(3), 3374-3394.

พัชรี วิชัยดิษฐ์. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสหกรณ์ในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ, 5(1), 25-26.

ภัสภูมิ สุขสงวน. (2562). ศักยภาพและประสิทธิภาพของนักบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพงบการเงินของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากรที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). ข้อกำหนดด้านสมรรถนะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2560, จาก http://www.tfac.or.th/upload/9414/1U2r9e0jMJ.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). ค้นหาบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2565, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/service/education-service.html.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือนคู่มือสมรรถนะ. นนทบุรี: ประชุมช่าง.

อรอุษา ด้วงช้าง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพทางการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 25-30.

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G.S. (2005). Marketing research. (7th ed.). New York: John Wiley and Son.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. USA: John Wiley & Son.

Nunnally, J. C. & Bernstein. (1994). Psychometric theory. (2nd ed.). Test and Measurement New York: McGraw-Hill.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.