ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลนครสกลนคร

Main Article Content

พิศดาร แสนชาติ
ศราวุธ ผิวแดง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลนครสกลนคร ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลนครสกลนคร จำนวน 31 คน ประกอบด้วย ประธานชุมชน 1 คน กรรมการชุมชน 8 คน ตัวแทนกลุ่มในชุมชน 8 คน ตัวแทนฐานเรียนรู้ 6 คน ตัวแทนเยาวชน 2 คน ตัวแทนสหกรณ์ 1 คน อาจารย์ 1 คน นักพัฒนาชุมชน 1 คน นักบริหารงานสวัสดิการสังคม 1 คน ผู้บริหารเทศบาล 1 คน และสมาชิกสภาเทศบาล 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง บันทึกการสนทนากลุ่ม และบันทึกการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ร่างข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารการพัฒนาด้านเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลนครสกลนคร มีคะแนนเฉลี่ยด้านความเหมาะสม 1.00 คะแนน ความเป็นไปได้ 0.98 คะแนน ความสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของเทศบาล 0.99 คะแนน และความมีประโยชน์ 0.99 คะแนน โดยข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลนครสกลนคร ประกอบด้วยข้อเสนอเชิงนโยบาย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การบริหารและการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลนครสกลนคร ส่วนที่ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลนครสกลนคร และส่วนที่ 3 การพัฒนาประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลนครสกลนคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2554). คู่มือการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

ดนัยภพ ชุติธมโม, พระนพฤทธิ์ จิตรสายธาร และ จิรายุ ทรัพย์สิน. (2563). บทบาทของเทศบาลตำบลในการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนของเทศบาลตำบล ในเขตอำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 143-156.

นพพร ญาณสมปนโน. (2561). การบริหารการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลโพนางดำออก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นัดพลพิชัย ดุลยวาทิต และ มนต์ทนา คงแก้ว. (2563). การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของหัวหน้าครัวเรือนเพื่อยกระดับสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ กรณีศึกษาตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2), 130-154.

บุญส่ง วิจักษณบุญ. (2564, 11 มกราคม). รองนายกเทศมนตรีนครสกลนคร. อ.เมือง จ.สกลนคร. สัมภาษณ์.

ปรียานุช ธรรมปิยา และ ผาณิต เกิดโชคชัย (บก.). (2562). สืบสานสู่ปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ส.พิจิตร.

มรุต วันทนากร. (2553). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. TRF Policy Brief, 1(6), http://prp.trf.or.th/trf-policy-brief/ปัจจัยแห่งความสำเร็จใน-2

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2558). การบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

วิซุตตา ชูศรีวาส. (2559). รายงานวิจัยเรื่องการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สงกรานต์ ดีรัตนพร. (2564, 21 ธันวาคม). สมาชิกสภาเทศบาลนครสกลนคร. อ.เมือง จ.สกลนคร. สัมภาษณ์.

สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง. (2561). เอกสารคำสอนวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World development, 8(3), 213-235.

Luther, G., & Urwick, L. (1937). Paper on the Science of Administration. Institute of public Administration. New York.

Rathod, P.B. (2010). Element of development-administration (Theory and practice). Jaipur, India: ABD Publishers.