รูปแบบการจัดการขยะแบบครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ในเขตเทศบาลตำบลหาดคำ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโมเดลการวัดรูปแบบการจัดการขยะแบบครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหาดคำ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำนวน 350 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษา พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จาก = 0.066 /df = 1.33 GFI = 0.95 AGFI = 0.92 CFI = 0.99 SRMR = 0.049 และ RMSEA = 0.041 ระยะที่ 2 มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดรูปแบบการจัดการขยะแบบครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการขยะของเทศบาลตำบลหาดคำ จำนวนทั้งสิ้น 15 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อสรุปเป็นรูปแบบการพัฒนา ผลการศึกษา พบว่า การจัดการขยะแบบครบวงจรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมี จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการลดการเกิดขยะ จำนวน 3 กิจกรรม 2) ด้านการรีไซเคิลขยะ จำนวน 3 กิจกรรม 3) ด้านการเก็บรวบรวมขนส่งขยะ จำนวน 3 กิจกรรม 4) ด้านการคัดแยกขยะ จำนวน 3 กิจกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรวิษ แสนสุพรรณ์ และคณะ. (2563). โครงการวิจัย การจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้การจัดการขยะแบบครบวงจรโดยชุมชนตำบลหาดคำ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย อย่างยั่งยืน. หนองคาย: ฝ่ายนโยบายและแผน เทศบาลตำบลหาดคำ.
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของสหภาพยุโรป. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566, จาก https://europetouch.mfa.go.th/.
เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม, อานุภาพ รักษ์สุวรรณ และ ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์. (2563). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลเมืองหัวหิน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 16(1), 19-33.
จารุพร ตั้งพัฒนกิจ และ ปาณิก เสนาฤทธิไกร. (2565). บทบาทของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบจำลองสมการโครงสร้าง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(2), 99-110.
ชัยโรจน์ ฐิรศิริชวเลิศ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างวัฒนธรรมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่กึ่งเมือง กรณีศึกษาในชุมชนตำบลหาดคำ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
เทศบาลตำบลหาดคำ. (2563). แผนพัฒนา 3 ปี เทศบาลตำบลหาดคำ 2563- 2565. หนองคาย: ฝ่ายนโยบายและแผน เทศบาลตำบลหาดคำ.
ธนวัฒน์ คงมณี ณัฐิยา ตันตรานนท์ และ ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์ (2565). รูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะของโรงเรียนบ้านนามน อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 13(2), 87-102.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(มกราคม – ธันวาคม), 375-396.
ศิริลักษณ์ มณีประเสริฐ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลบนถนน สายหลัก จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(1), 76-85.
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดหนองคาย. (2564) นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. หนองคาย: สำนักงานจังหวัดหนองคาย.
อเนก ฝ่ายจำปา. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(2), 124-142.
อำนวย บุญรัตนไมตรี. (2560). นโยบายการจัดการขยะของรัฐและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 10(1), 169-174.
ฮารูน มูหมัดอาลี. (2561). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 4(2), 297-314.
Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: Wliey.
Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications? Journal of Applied Psychology, 78(1), 98-104.
Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis. (7th Ed.). Harlow, United Kingdom: Pearson Education.
Kelloway, E.K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum.