การพัฒนาต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ธัญพร ศรีดอกไม้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้พัฒนาต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ ที่สอดคล้องกับความต้องการเข้าใช้งานระบบของกลุ่มผู้ใช้งานระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการเข้าใช้งานระบบต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุและหารูปแบบที่เหมาะสม 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อพัฒนาต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการใช้บริการเว็บแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่อาศัยในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 217 คน ซึ่งอยู่ในกลุ่มของผู้ที่เป็นจำหนายสินค้า และบุคคลทั่วไปที่ใช้งานต้นแบบฯ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ความต้องการเข้าใช้งานระบบ แบบวิเคราะห์หามาตรฐานของระบบ และแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบต้นแบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุรับรู้ว่ารายได้ ต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุ สามารถสร้างโอกาสในการสร้างและทำให้กิจการสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้มากกว่าเดิม ขณะที่กลุ่มของบุคคลทั่วไปมีปัจจัยความต้องการในฐานะของของผู้เข้าชมและเข้าใช้งานต้นแบบฯ ในฐานะลูกค้า ประกอบด้วย การรับรู้ถึงการใช้งานง่าย การรับรู้ถึงประโยชน์ ความไว้วางใจในผู้ขาย และการรับรู้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสม พบว่า ทางกลุ่มผู้สูงอายุ มีความต้องการในการพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้ง่าย มีข้อจำกัดในด้านความชำนาญการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน ทั้งในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ ประเภทต่าง ๆ และโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟนที่ผู้สูงอายุมีและใช้งานอยู่แล้ว เพื่อนำเสนอสินค้า ประชาสัมพันธ์ และเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าในกลุ่มลูกค้าทุกระดับ ผู้สูงอายุรับรู้ว่าเว็บแอปพลิเคชันสามารถสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และทำให้กิจการสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้มากกว่าเดิม โดยมีข้อจำกัดในด้านความชำนาญการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน โดยผู้ใช้งานระบบซึ่งเป็นผู้สูงอายุและบุคคลทั่วไปมีค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจต่อการทดลองใช้ระบบต้นแบบฯ ในภาพรวม เท่ากับ 4.86 และ 4.87 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านคุณภาพของการบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). แผนกลยุทธ์กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

โกสินทร์ ชำนาญพล และสุดาใจ โล่ห์วนิชชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ. วารสารราชพฤกษ์, 17(2), 130-138.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558 (ปราโมทย์ ประสาทกุล บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เจษณี จันทวงศ์. (2561). การพัฒนาอาชีพผู้สูงอายุของประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 อาเซียนบนเส้นทางของประชาคม (ASEAN on the Path of Community),หน้า 55-62. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิธิ นิ่มปรางค์ และอนุวัต สงสม. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการยอมรับเทคโนโลยี คุณภาพของเว็บไซต์ ความไว้วางใจ และความภักดีทางอิเล็กทรอนิกส์: การซื้อสินค้าจากร้านออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 1-11.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2556). สถานการณ์ผู้สูงอายุ แนวโน้ม และผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. เอกสารประกอบการบรรยาย. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559, จาก http://hp.anamai.moph.go.th/download/ผู้สูงอายุ/Meeting10_13Dec.2556/12.Dec.2556/3.สถานการณ์ผู้สูงอายุ.ศ.ดร.ปราโมทย์.pdf

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562. นครปฐม: พริ้นเทอรี่.

วิจิตรา โพธิสาร และคณะ. (2560). การศึกษาการยอมรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสุรินทร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4, เพชรบูรณ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มอายุ รายจังหวัด และภาค พ.ศ. 2553-2562. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Cochran, W. G. (2007). Sampling Techniques, 3rd Edition. India: Wiley India Pvt. Limited.

Lin, Y., Luo, J., Zhou, L., Ieromonachou, P., Huang, L., Cai, S., & Ma, S. (2014, June). The impacts of service quality and customer satisfaction in the e-commerce context. In 2014 11th International Conference on Service Systems and Service Management (ICSSSM) (pp. 1-6). IEEE.