ผลกระทบของข้อมูลทางบัญชีหลังประกาศใช้นโยบายทางการเงินของภาครัฐกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

พิธาน แสนภักดี
ปฐมพงค์ กุกแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของข้อมูลทางบัญชีหลังประกาศใช้นโยบายทางการเงินของภาครัฐกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2562 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม sSET จำนวน 57 บริษัท และทำการวิเคราะห์กำไรต่อหุ้น มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นสามัญ อัตราส่วนทุนหมุนเวียน อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ โดยมีขนาดธุรกิจ และสำนักงานสอบบัญชีเป็นตัวแปรควบคุม ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และ ค่าร้อยละ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นสามัญ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และขนาดธุรกิจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ ในขณะที่กำไรต่อหุ้น อัตราส่วนทุนหมุนเวียน อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และสำนักงานสอบบัญชีไม่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติธัช ถนัดพจนามาตย์. (2553). อัตราส่วนทางการเงินมีความสัมพันธ์กับดัชนีราคาหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ขวัญนภา เศิกศิริ สมใจ บุญหมื่นไวย และ ธนภณ วิมูลอาจ. (2561). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินต่อราคาตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย :กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. วารสารชุมชนวิจัย, 12(3), 71-84.

จีระ จันทร์ชาวนา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและกำไรสุทธิที่มีต่อราคาและผลตอนแทนหลักทรัพย์ กรณีศึกษา: กลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชุดาพร สอนภักดี และ ทาริกา แย้มขะมัง. (2564). อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 151-164.

ตรีเพชร พุทธแดง. (2560). ผลกระทบนโยบายการเงินและนโยบายการคลังต่อดัชนีราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษาประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนกฤต พิภพวัฒนา และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทน ความเสี่ยง และการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(2),250-268.

ปทุมวดี พรอิสสระเสรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชีกับมูลค่าหลักทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานแห่งประเทศไทย.การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พีรภรณ์ รุ่งทวีลาภ. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นของบริษัทที่เป็นธุรกิจครอบครัวกับบริษัทที่ไม่เป็นธุรกิจครอบครัวที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร หมวดอาหารและเครื่องดื่ม. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ลออรัตน์ จงฐิตินนท์. (2558). โครงสร้างการถือหุ้นกับความมีคุณค่าของข้อมูลทางการบัญชี. สารนิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัฒนี รัมมะพ้อ. (2562). การใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. มหาวิทยาลัยรังสิต. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562, หน้า 906-915. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2563, จาก http://kkpho.go.th/km/index.php/2017-08-10-06-37-01/category/2-r2r-5.

อนุวัตร รองเงิน. (2559). ความสัมพันธ์อัตราส่วนทางการเงินกับผลตอแทนของหลกัทรัพย์กรณีศึกษา: บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยกลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้าง. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัครเดช บุญญยุวะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี ราคาตลาดหลักทรัพย์ SET HD ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.