แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินการของกลุ่มผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ผลิตภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการประกอบการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการการทำแผนธุรกิจและจัดทำแผนธุรกิจ โดยการบูรณาการให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ กลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2561 อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จำนวน 49 คน และกลุ่มผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐหลักในการสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการ สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จำนวน 6 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 55 คน โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาและข้อมูลเชิงคุณภาพ (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคการประกอบการ คือ ด้านการบริหารจัดการ กำลังคนไม่เพียงพอต่อการผลิต สมาชิกกลุ่มขาดความรู้ ทักษะและความชำนาญในการผลิตด้านการตลาด ผู้ประกอบการไม่มีองค์ความรู้ด้านการตลาดเพียงพอ ไม่สามารถทำการส่งเสริมการขายและส่งเสริมการตลาดด้วยสื่อสมัยใหม่ได้ ด้านการผลิต วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตและไม่สามารถเก็บวัตถุดิบได้ในเวลานาน สถานที่ผลิต วัสดุและอุปกรณ์ ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานการผลิตสินค้า และด้านการเงิน ผู้ประกอบการมีทุนในการดำเนินการจำกัดและไม่มีแหล่งทุนหรือสถาบัน ทางการเงินที่ให้ผู้ประกอบการได้มีสิทธิ์ได้รับบริการอย่างทั่วถึง แนวทางการพัฒนา หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต้องเร่งพัฒนาให้องค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาด ด้านการผลิต และด้านการเงิน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของตนเองได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปิยะนุช สัมฤทธิ์, สักรินทร์ อยู่ผ่อง และอัคครัตน์ พูลกระจ่าง. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจขนส่งและกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 21(1). 7-23.

พรนภา สวนรัตนชัย, ศุภสิทธิ์ จารุพัฒน์หิรัญ และแก้วตา ผู้พัฒนาพงศ์. (2564). การริเริ่มธุรกิจ กลยุทธ์การปฏิบัติงานนำไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจขนาดย่อมด้านการแพทย์แผนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 11(1). 133-145.

ภัทรา เตชะธนเศรษฐ์. (2564). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรางานทางการเงินของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในจังหวัดระยอง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 16(1). 52-59.

วีระศักดิ์ ธนาพรสิน, จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณนะ และชมพูนุท โมราชาติ. (2562). รูปแบบสมรรถนะขององค์กรเพื่อความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 16(2). 233-241.

ศิรินทิพย์ พิศวง. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการโอทอป เพื่อส่งเสริมเครือข่ายองค์ความรู้ จังหวัดสุรินทร์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 15(4). 8-41.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. สรุปผลการดำเนินงานการคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://maehongson.cdd.go.th/.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 7(2). 155-166.

อนุกูล โกมลอุปถัมภ์, ปาริชาติ ธีรวิทย์ และทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจผลิตกล้วยไม้เพื่อการส่งออก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(1). 252-270.

อุษณีย์ เส็งพานิช. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อข้อจำกัดในการดำเนินงานและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากสถาบันการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 15(1). 13-26.

Lee-Ross, D., & Lashley, C. (2009). Entrepreneurship and Small Business Management in the Hospitality Industry. Routledge.