การพัฒนาคุณภาพฉลากผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

วุฒิพงศ์ บุษราคัม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตราผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ และฉลากสินค้า กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในจังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง คือ สภาพการณ์กลุ่มอาชีพ OTOP จำนวน ทั้งสิ้น 20 กลุ่ม เครื่องมือการวิจัยใช้ประเด็นการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ผลการวิจัย พบว่า การจัดจําหน่ายสินค้าของกลุ่มอาชีพในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ได้มีการพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์หรือการสร้างสินค้าใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และนักท่องเที่ยว รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์และการจัดการที่ดี แต่การดําเนินงานจํากัดอยู่เฉพาะในกลุ่มและในจังหวัดเท่านั้น กลุ่ม OTOP ของจังหวัดบึงกาฬจะแสดงหรือจําหน่ายสินค้า OTOP ในงานประจำปี และงานอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ส่วนการจัดทำฉลากและโลโก้ของผลิตภัณฑ์เพื่อให้รองรับการท่องเที่ยวของจังหวัดบึงกาฬทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีเอกลักษณ์โลโก้ของผลิตภัณฑ์เป็นรูปแบบที่นำไปเป็นของฝากที่มีค่าและมากด้วยราคาทำให้สินค้า OTOP ทั้ง 20 กลุ่มได้มีฉลากผลิตภัณฑ์เป็นเอกลักษณ์และเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มกลุ่มอาชีพ OTOP ในจังหวัดบึงกาฬ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการ ได้แก่ 1) ศึกษาความต้องการของผู้บริโภคตลอดจนกลยุทธ์ของสินค้า Modern Trade และ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและกลยุทธ์เชิงรับ ได้แก่ ส่งเสริมการศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก่บุคลากร

Article Details

How to Cite
บุษราคัม ว. (2023). การพัฒนาคุณภาพฉลากผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อรองรับการท่องเที่ยวจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(5), 59–79. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2819
บท
บทความวิจัย

References

จิตจํานงค์ กิติกีรติ. (2525). การพัฒนาชมชน. กรุงเทพ: คุณพินอักษรกิจ.

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร. มหาวิทยาลัยหัวเฉียงเฉลิมพระเกียรติ.

พวงเกสร วงค์อนุพรกูล. (2552). แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านวัดจันทร์พัฒนาหมู่ที่ 7 ตำบลวัดจันทร์อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

พรศักดิ์ ว่องวัฒนกูล. (2553). แนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพขององค์การบริหารส่วนตําบล ทุ่งคอก อําเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิภาวิ กฤษณะภูติ. (2556). การจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน: การเรียนรู้จากกลุ่มอาชีพทอผ้าฝ้ายในจังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 30 (1). 166-168.

สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กับการตลาด. (ฉบับแก้ไขปรับปรุง). ตุลาคม พ.ศ. 2547. โดยอาสาสมัครอาวุโสขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA Senior Volunteer) (คุณซุซุมุโอซากิ (Mr. Susumu Ozaki)) หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561. จากเว็ปไซส์ https://souvenirbuu.wordpress.com/.online.

Hogeforster, M. (2014). Future challenges for innovations in SMEs in the Baltic Sea Region. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 110, 241-250.

Johannisson, B. (1996). The dynamics of entrepreneurial networks. In Reynolds, P., et al. (Eds.). Frontiers of Entrepreneurship Research, 253-267.