การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวไร่ขิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการตลาดดิจิทัลให้กับชุมชนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวไร่ขิง เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มพนักงานเอกชน ข้าราชการ นักศึกษาและเกษตรกร ที่มีต่อ Page Facebook: ชุมชนเชิงเกษตรไร่ขิง@วิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวไร่ขิง โดยเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 547 คน เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview Questions) และใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) Google Form วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยสถิติพื้นฐานค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการตลาดดิจิทัลให้กับชุมชนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวไร่ขิงควรแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงได้ง่ายต่อการใช้งานของ twitter Page Facebook เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เข้าถึง ด้านการออกแบบสื่อของ Page Facebook ด้านการออกแบบสื่อความน่าสนใจเกี่ยวกับเพจ ด้านการใช้งานช่องทาง Line@ ควรมีการปักหมุดเชื่อมต่อกับ Google map เพื่อความสะดวกต่อการเข้าถึงสถานที่ชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2565). การจัดการตลาดดิจิทัลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทัพหลวง กะละแมลุงพร ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(3), 1-15.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2565). การพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ ผลิตภัณฑ์ไข่เค็มคุณป้า ชุมชนบ้านศาลาดิน นครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(2). 29-44.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และสื่อสังคมออนไลน์กระเป๋าสานจากเส้นพลาสติก กลุ่มแม่บ้านงานจักสานบ้านนาโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(1). 35-48.
ฐิติมา ผการัตน์สกุลและวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ (2558). กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(3), 538-552.
เทพกร ณ สงขลา. (2556). รูปแบบการจัดการทรัพยากรเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรยั่งยืน ในอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เทศบาลเมืองไร่ขิง. (2563). ข้อมูลทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563, จาก http://www.raikhing.go.th/index.php?p=1.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วัฒนพงษ์ นิ่มสุวรรณ และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2556). แนวคิดการใช้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊ค และทัศนคติ แรงจูงใจ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกดปุ่ม “ถูกใจ” ให้เครื่องมือสื่อสารในแฟนเพจบนเฟซบุ๊คของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยสุรนารี, 7(1), 37-67.