แนวทางการจัดการอนุรักษ์วัฒนธรรมการมวยผมของชาวผู้ไทย

Main Article Content

สุภาพร เกียรติดำเนินงาม

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิค วิธีการ และแนวทางในการจัดการอนุรักษ์วัฒนธรรมการมวยผมของสตรีชาวผู้ไทยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลในพื้นที่ และการสัมภาษณ์นำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่า ชาวผู้ไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมการมวยผมมาตั้งแต่อดีต รูปแบบของการมวยผมจะเบี่ยงมวยผมเอียงไปทางด้านซ้าย โดยมีส่วนของห่วงปอยเส้นผมที่ยื่นออกมาด้านข้างขั้นตอนในการมวยผมเริ่มจากการใช้มือหรือหวีสางผมให้เรียบ ก้มศีรษะแล้วรวบผมไปด้านหน้าเบี่ยงไปด้านซ้ายเล็กน้อยใช้มือขวากำโคนผมไว้ มือซ้ายสอดใต้มือขวา ช้อนเอาปอยผมบิดตวัดไปด้านหลังแล้วม้วนตวัดมาด้านซ้ายมือขวาดึงปอยผมเหน็บไว้ที่นิ้วนางของมือซ้าย แล้วพันผมส่วนที่เหลือรอบโคนผมจนสุดมือซ้ายตวัดเอาผมที่เหน็บไว้ลอดผ่านปอยผม และดันผมส่วนที่พันรอบโคนผมให้ลอดผ่านตามไปทั้งหมด พร้อมกับดึงห่วงปอยผมให้ตึงเป็นวง จัดแต่งผมให้เรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันการมวยผมแบบดั้งเดิมของชาวผู้ไทยกำลังจะหายไปตามการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย แนวทางการจัดการอนุรักษ์วัฒนธรรมการมวยผมของชาวผู้ไทยคือ 1) การจัดการส่งเสริมสนับสนุนยกย่องบุคคลที่อนุรักษ์วัฒนธรรมการมวยผม 2) การจัดกิจกรรมเพื่อปลุกจิตสำนึกให้ชาวผู้ไทยรุ่นใหม่เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นถิ่น 3) การจัดทำข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์บันทึกข้อมูลในรูปแบบเอกสารและวีดิทัศน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำสอน สระทอง. (2564, 15 กรกฎาคม). ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(ประณีตศิลป์-ทอผ้า). ชาวผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

จอมศรี ปัญจิตร. (2564, 27 กรกฎาคม). ชาวผู้ไทยบ้านหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

จารุบุตร เรืองสุวรรณ. (2521). อีสานคดี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2561). วิธีการดูแลเส้นผมคนล้านนาโบราณ. กรุงเทพ : มติชนสุดสัปดาห์.

ชัยบดินทร์ สาลีพันธุ์. (2564, 25 กรกฎาคม). นักวิชาการ. ชาวผู้ไทยเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม. สัมภาษณ์.

ณฐอร การถัก. (2564, 30 กรกฎาคม). ปลัดเทศบาลตำบลโพน. อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

ถวิล เกษรราช. (2521). ประวัติผู้ไทย. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

ทองคำ ทะวงษ์ษา. (2564, 15 กรกฎาคม).ชาวผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

นุตร ติกานันธ์. (2564, 20 กรกฎาคม). ชาวผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

บุญมา สารกรณ์. (2564, 27 กรกฎาคม). ชาวผู้ไทยบ้านหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

บุญเลิง สุวงศ์ทา. (2564, 15 กรกฎาคม). ชาวผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

ประกอบ ปัญจิตร. (2564, 27 กรกฎาคม). ครูช่างศิลป์หัตถกรรม. ชาวผู้ไทยบ้านหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

ผง ศรีบัว. (2564, 20 กรกฎาคม). ชาวผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

พรสวรรค์ พรดอนก่อ. (2564, 30 เมษายน). อาจารย์. ชาวผู้ไทย อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

เมือง นันนิล. (2564, 20 กรกฎาคม). ชาวผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2527). สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 5. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

ไล ยุรตา. (2564, 27 กรกฎาคม). ชาวผู้ไทยบ้านหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธฺุ์. สัมภาษณ์.

หนู หาระทา. (2564, 20 กรกฎาคม). ชาวผู้ไทยบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สัมภาษณ์.