ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการกำไรของธุรกิจบริการ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ปฐมพงค์ กุกแก้ว
พิธาน แสนภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการกำไรของธุรกิจบริการ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100) โดยการเก็บรวบรวมจากรายงานทางการเงินและแบบแสดงรายการ ข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2562 จำนวน 41 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และดอกเบี้ยจ่ายมีอิทธิพลต่อการจัดการกำไรของธุรกิจบริการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 16.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

จุฑารัธ พาลพ่าย. (2558). การตกแต่งกำไรช่วงการเปลี่ยนแปลงประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉมพร มีชนะ และคณะ. (2562). คุณภาพกำไรและต้นทุนของเงินทุน:บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(108), 121-131.

ดัสกร สีดา. (2562 ). อัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่อมูลค่าตามราคาตลาดหลักทรัพย์หมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธันยกร จันทร์สาส์น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สินและคุณภาพกำไร บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ของประเทศไทย. BU ACADEMIC REVIEW, 14(1), 71-87.

นารีรัตน์ เทียมรัตน์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับการจัดการกำไร: กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิภาพร ลิมบานเย็น. (2552) การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเพื่อศึกษาแนวโน้มการลงทุนในธุรกิจกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยาลัยราชพฤกษ์: นนทบุรี.

ปฐมชัย กรเลิศ และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงินกับการจัดการกำไร: กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมประเภทสินค้าอุปโภคและบริโภคในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(2), 165-183.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน.สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563, จาก https://www.tfac.or.th/

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2563, จากhttp://kkpho.go.th/km/index.php/2017-08-10-06-37-01/category/2-r2r-5.

Ardison, K. M. M., Martinez, A. L., & Galdi, F. C. (2012). The effect of leverage on earnings management in Brazil. Advances in Scientific and Applied Accounting, 5(3), 305-324.

Dechow, M. P. & Dichev, I. D. (2002). The Quality of Accruals and Earnings: The Role of Accrual Estimation Errors.” The Accounting Review, 77(2002), 35-59.

Jones, J. (1991). Earnings management during import relief investigations. Journal of Accounting Research, 29, 193-228.