ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความสามารถทางด้านบัญชีกับ ประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

สายฝน อุไร
ฐิติพร วรฤทธิ์
แก้วมณี อุทิรัมย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ความสามารถทางด้านบัญชี ประสิทธิภาพใน การจัดทำบัญชีของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบระหว่างความรู้ความสามารถทางด้านบัญชีกับประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 352 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 35 - 40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี และประสบการณ์ด้านการทำงานน้อยกว่า 5 ปี 2) นักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ความสามารถทางด้านบัญชีในการจัดทำบัญชีของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพ ด้านทักษะวิชาชีพ ด้านเจตคติ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความรู้ทางบัญชี ด้านคุณค่าแห่งวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก 3) นักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชี โดยรวมและเป็นรายด้าน ด้านความเชื่อถือได้ ด้านความทันต่อเวลาและด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการฝึกอบรม ด้านความเข้าใจได้ อยู่ในระดับมาก 4) ความรู้ความสามารถทางด้านบัญชี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีโดยรวม และตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีโดยรวม ได้แก่ ด้านทักษะวิชาชีพ ด้านความรู้ทางการบัญชี ด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพ และด้านเจตคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ผู้ทำบัญชี (e-Accountant). สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563, จาก https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1589.

จินตนา ชัยยวรรณาการ. (2555). ก้าวที่สำคัญของนักบัญชีเข้าสู่ AEC. กรุงเทพฯ: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.

ชลิดา ลิ้นจี่ และคณะ (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(1). 34 – 45.

นภาลัย บุญคำเมือง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ภริศฑ์ซาก์ ชดซ้อย ทิพย์สุดา ทาสีดำ, สุรีย์ โบษกรนัฏ และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีไทย.วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 1(4). 49-62.

วนันพรณ์ ชื่นพิบูลย์ และคณะ. (2562). ความคิดเห็นของผู้ทาบัญชีที่มีต่อจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกรณีศึกษา ผู้ทำบัญชีในสานักงานบัญชีในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 6(2). 49 – 61.

ศรัญญา บุญขวัญ. (2559). ผลกระทบของความพยายามในการสอบบัญชีและความเชี่ยวชาญในการสอบบัญชีที่มีต่อผลลัพธ์ในการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). ข้อบังคับสภาวิชาชีพ (ฉบับที่ 19) เรื่องจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2553. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 127 ง. 3 พฤศจิกายน 2553.

เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.