การเชื่อมโยงโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวท่าช้าง

Main Article Content

นุชจรี ภักดีจอหอ
รดามณี พัลลภชนกนาถ
ชิตวรา บรรจงปรุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวท่าช้างและการท่องเที่ยวในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาศักยภาพของอุปทานการท่องเที่ยวและทรัพยากรการท่องเที่ยว และ 3) เสนอแนะแนวทางการเชื่อมโยงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวท่าช้าง จากระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ และการระดมสมอง กลุ่มเป้าหมายจำนวนรวม 15 คน ได้แก่ ผู้นำและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวท่าช้าง ผู้แทนผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง นักท่องเที่ยว และภาคีเครือข่ายการวิจัยภาครัฐและเอกชน ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์สรุปอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวท่าช้างมีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวตามประเพณีและกิจกรรมนันทนาการ ใน 4 แหล่งท่องเที่ยวหลัก ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำมูล คือ ลานไทรเฉลิมพระเกียรติ ซากเรือโบราณ ภูมิทัศน์ช้างดึกดำบรรพ และสะพานดำ โดยการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลท่าช้าง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาทัศนศึกษาเป็นหมู่คณะ บางส่วนมาเป็นครอบครัวและกลุ่มเพื่อนฝูง นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังมีกลุ่มอาชีพที่ผลิตสินค้าอาหาร เครื่องใช้ในบ้าน ของฝาก ของที่ระลึก และให้บริการ โฮมสเตย์ที่พัก ศักยภาพของอุปทานการท่องเที่ยวและทรัพยากรการท่องเที่ยวในตำบลท่าช้าง มีวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวท่าช้างทำหน้าที่เป็นโซ่อุปทานกลางน้ำ กลุ่มอาชีพต่าง ๆ และผู้ประกอบการร้านอาหารเครื่องดื่มเป็นโซ่อุปทานต้นน้ำ และผู้ประกอบการให้บริการขนส่งเดินทางเป็นโซ่อุปทานปลายน้ำ ทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลท่าช้างมีศักยภาพในเรื่องแหล่งท่องเที่ยวเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวและมีเส้นทางเดินทางเข้าถึงได้ง่าย ในขณะที่มีกิจกรรมการท่องเที่ยวในบางครั้ง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและที่พักในบางแหล่งเท่านั้น ดังนั้น แนวทางการเชื่อมโยงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวท่าช้างควรกำหนดตามศักยภาพด้านอุปทานและทรัพยากรการท่องเที่ยว มีการกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยวให้มีการดำเนินการร่วมกันทั้งโซ่อุปทานการท่องเที่ยวต้นน้ำและปลายน้ำ ในรูปแบบกลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงแก้ไข กลยุทธ์เชิงรับ และกลยุทธ์เชิงป้องกัน การดำเนินกลยุทธ์จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากสมาชิกตลอดโซ่อุปทานการท่องเที่ยวตำบลท่าช้าง และภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน

Article Details

How to Cite
ภักดีจอหอ น., พัลลภชนกนาถ ร., & บรรจงปรุ ช. (2022). การเชื่อมโยงโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวท่าช้าง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(3), 69–83. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2844
บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สังขกร และคณะ. (2558). การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). ทรัพยากรการท่องเที่ยวไทย ชุดภาคอีสาน : นครราชสีมา. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

จีรนันท์ เขิมขันธ์, ปัญญา หมั่นเก็บ และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2561). การจัดการโซ่อุปทานสำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดระยอง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(3), 98-110.

ชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2558). มองรอบทิศคิดอย่าง Supply Chain Logistics and Supply Chain Management ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2563, จาก http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=66& section=5&issues=3.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวนานาชาติ, 13(2), 25-46.

ทิพย์สุดา พุฒจร และคณะ. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนสลักคอก จังหวัดตราด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(2), 102-117.

มนทิรา สังข์ทอง, ธนกฤต ยอดอุดม, และรวิศ คำหาญพล. (2560). โซ่อุปทานการท่องเที่ยวของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 12, หน้า 1169-1177. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วรรณา ศิลปอาชา. (2545). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว. เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว: Tourism resource management (หน่วยที่ 1). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชสุดา ร้อยพิลา และปรีดา ไชยา. (2558). องค์ประกอบของทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 197-211.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2560). วิสาหกิจชุมชนน่ารู้. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560, จาก http://www.sceb.doae.go.th/Ssceb2.htm.

สำนักงานอุทยานธรณีโคราช. (2563). แหล่งท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก https://www.khoratgeopark.com/Content.aspx?ctype=travelgeo.

สุจิดา ศรีไชยวาน และขวัญกมล ดอนขวา. (2556). ห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 7(1), 36-47.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2560). ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(6), 192-202.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561). แนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยชุมชน เพื่อชุมชน. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก http://www.dasta.or.th/th/component/k2/item/4196-3c-concept.

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง. (2563ก). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก http://www.tachangkorat.go.th/info.php?cg=2&ct=1.

________. (2563ข). แหล่งท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก http://www.tachangkorat.go.th/info.php?cg=2&ct=13.

อิสริยา เลาหตีรานนท์. (2552). ทรัพยากรการท่องเที่ยว (๑๔ เมษายน ๒๕๕๒). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2562, จาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges=ทรัพยากรการท่องเที่ยว-๑.

Dickman, S. (1997). Tourism: An Introductory Text. 3rd ed., Australia: Hodder Education.

Guo, X., and He, L. (2012). Tourism Supply-Chain Coordination: The Cooperation between Tourism Hotel and Tour Operator. Tourism Economics, 18(6), 1361–1376.

Mentzer, J.T. (2001). Supply Chain Management. Thousand Oaks, CA:SAGE.

Nair, V. and Hamzah, A. (2015). Successful community-based tourism approaches for rural destinations: The Asia Pacific experience. Worldwide Hospitality and Tourism Themes, 7(5), 429-439.