การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไผ่ของชุมชนบ้านผาตูบ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไผ่ของชุมชนบ้านผาตูบ อำเภอเมือง จังหวัดน่านเป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนบ้านผาตูบ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ในมิติด้านต่าง ๆ และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบรวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการทรัพยากรป่าไผ่โดยคนในชุมชนซึ่งเป็นทรัพยากรท้องถิ่นที่ใช้ร่วมกันในป่าชุมชนมาอย่างยาวนานโดยทำการออกแบบสอบถามประชาชนบ้านผาตูบจำนวน 143 ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนละ 1 คน และทำการสัมภาษณ์ประชาชนที่อาศัยในชุมชนข้างเคียงที่มีอาณาเขตโดยรอบติดกับชุมชนบ้านผาตูบ จำนวน 80 ครัวเรือน รวมถึงการจัดเวทีสัมมนาเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไผ่เจ้าหน้าที่ในส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ และผู้รู้ (Key Informants) รวมจำนวน 13 คน ผลการวิจัย พบว่า บริบทในเชิงกายภาพรวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรของชุมชนบ้านผาตูบที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไผ่ ยังมีองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ได้แก่ ผู้นำชุมชน กลุ่มสมาชิก ความเห็นชอบของประชาชนในแนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไผ่ร่วมกัน ร้อยละ 100.00 สิ่งที่มีอยู่เหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการทรัพยากรป่าไผ่ของชุมชนผ่านกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ ป้องกัน และการฟื้นฟู ซึ่งทำให้เกิดแนวทางการจัดการทรัพยากรป่าไผ่อย่างมีส่วนร่วมได้อย่างเหมาะสมภายใต้บริบทของชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8. (2539). การมีส่วนร่วมการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติของท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐสภา.
ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน, ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์, สุขเกษม ลางคุลเสน, นันทะ บุตรน้อย, กนกพร ศรีวิชัย และฐิฏิกานต์ สุยะสาร. (2563). การพัฒนาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตัดเย็บสู่ความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(4). 63-75.
วรานันต์ ตันตเวทย์. (2554). การประเมินมูลค่าโลมาสีชมพูทางเศรษฐศาสตร์และการปรับตัวของกิจกรรมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษา อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และธัญญา รัตน์สอนสุภาพ. (2563). การจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนตลาดอมยิ้ม.วารสารวิทยากรจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(6). 33-44.
ศรีประไพ คุ้มศรัตรา. (2559). ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชุมชน: ศึกษากรณีตำบลช่องสะเดา อำเภอเมืองกาญจนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(3). 59-68.
ศศิน เฉลิมลาภ. (2557). ความหลากหลายทางชีวภาพสู่แนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติใน ประเทศไทย . กรุงเทพฯ: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร.
สัจจา บรรจงศิริ. (2561). แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วมของภาคประชาชน: กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานวนอุทยานถ้ำผาตูบ. (2562). ข้อมูลวนอุทยานถ้ำผาตูบ จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์. (2562). ข้อมูลตำบลผาสิงห์. น่าน: องค์การบริหารส่วนตำบลผาสิงห์.
หทัยชนก วงค์บุญชา. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองปัจจัยที่ส่งผลต่อความพอใจการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(6). 105-117.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.
Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological, 3(1), 42-48.
Ostrom, E. (1997). Governing the Commons: The Evolution of Institutions for Collective Action. United Kingdom: Cambridge University.
Randy, S. (2013). The Community Development Context of Research. London: Sage Publications,.