การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการเพิ่มโอกาสทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชาดอกกาแฟ กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ชาดอกกาแฟของกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กาแฟ อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ มีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดเวทีประชาคมเพื่อระดมความคิด และการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่กาแฟ กลุ่มผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่จากหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ยังขาดการออกแบบให้เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีลักษณะเฉพาะตัว ดังนั้น ทางกลุ่มจึงมีความต้องการที่จะพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่ รวมถึงมีความทันสมัยเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดผู้บริโภค มีความเหมาะสม และเข้ากันได้ดีกับผลิตภัณฑ์ ผลจากการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ใหม่ ทำให้ได้ตราสินค้าใหม่ คือ “แปลงใหญ่กาแฟน้ำหนาว” และได้บรรจุภัณฑ์ใหม่ในรูปแบบขวดแก้วที่มีฝาปิดสนิท สะดวกต่อการใช้งานของผู้บริโภค และตรงตามความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับทางกลุ่มและชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กษมา สุรเดชา, อนุ ธัชยะพงษ์ และ กันยา มั่นคง. (2563). การออกแบบตราสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์กล้วยอบเนย ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูสวรรค์หมูไทยศรีโยธิน. วารสารพิกุล, 18(1), 219-237.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2567). กรมส่งเสริมการเกษตร คว้ารางวัลเลิศรัฐฯ บริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ด้วยผลงานโครงการวิสาหกิจชุมชนภายใต้แปลงใหญ่ ร่วมใจแก้จน ชุมชนผู้ปลูกกาแฟ น้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้น 3 กันยายน 2567, จาก https://doaenews.doae.go.th/archives/10961.
ชูเกียรติ กาญจนพารากูร. (2558). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ณรงค์ อ่อนสะอาด. (2564). ตั้งเป้าไทยผู้นำผลิต-การค้ากาแฟคุณภาพอาเซียน สู่ตลาดโลก. สืบค้น 4 ธันวาคม 2566, จาก https://kasettumkin.com/agriculture-news/article_24533.
พัทธชัย ปิ่นนาค, ธัญญ์นรี จิณะไชย, สุพิชญา เกสร และ อาลิตา มาคูณ. (2563). ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเปลือกกาแฟเชอร์รี่และดอกกาแฟในระบบวนเกษตรของจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 1, 61–70.
สาริณี มาป้อง และ พัชรี สุริยะ. (2558). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคชาใบหม่อนของผู้บริโภค ในจังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร, 43(ฉบับพิเศษ 1), 738-743.
สุนิษฐา เศรษฐีธร. (2567). ตลาดชาในประเทศไทย. สืบค้น 4 ธันวาคม 2566, จาก http://fic.nfi.or.th.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2567). ข้อมูลการค้าของสินค้ากาแฟ. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.
อาชิรญา บุญเพิ่ม. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคและกลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Mike, R. (2005). Performance auditing of integrated marketing communications (IMC) actions and outcomes. Retrieved November 13, 2022, from http://www.emeraldinsight.com.
Mike, R., Sandra, L., & Felix, M. (2005). The relationship between integrated marketing communication, market orientation and brand orientation. Retrieved November 16, 2022, from http://www.emeraldinsight.com.
Susan, F. (2004). Marketing: Integrated communications, advertising effectiveness and brand equity. Retrieved November 13, 2022, from http://www.emeraldinsight.com.