ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟชงสดในร้านสะดวกซื้อ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟชงสดในร้านสะดวกซื้อเขตกรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย วิเคราะห์โดยใช้ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงเปรียบเทียบได้แก่ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยทางการตลาดด้านราคา ปัจจัยทางการตลาดด้านสถานที่ ปัจจัยทางการตลาดด้านส่งเสริมการตลาด และปัจจัยทางการตลาดด้านลักษณะกายภาพ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ (sig.= 0.000) ปัจจัยทางการตลาดด้านราคา (sig.= 0.000) ปัจจัยทางการตลาดด้านสถานที่ (sig.= 0.000) ปัจจัยทางการตลาดด้านส่งเสริมการตลาด (sig.= 0.000) และปัจจัยทางการตลาดด้านลักษณะกายภาพ (sig.= 0.001) ในขณะที่ปัจจัยทางการตลาดด้านบุคคล ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟชงสดในร้านสะดวกซื้อ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
ทิพย์พิมล ดวงจันทร์. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนในการเลือกร้านกาแฟ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มารยาท โยทองยศ และผศ.ปราณี สวัสดิสรรพ์. (2551). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการ วิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม.
วสุธิดา นุริตมนต์. (2563). บทบาทของการรับรู้ภาพลักษณ์และคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคร้านกาแฟ ประเภทคาเฟ่ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(6), 61-74.
วรินทร ตาสา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการใช้บริการร้านกาแฟที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการใช้บริการร้านกาแฟที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2562). “ธุรกิจร้านกาแฟในประเทศไทย” สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564, จาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomestic.php.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2564). “ธุรกิจร้านกาแฟในประเทศไทย” สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564, จาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomestic.php.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563). จำนวนประชากรในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564, จาก http://www.bangkok.go.th/pipd/page.
อภิวัฒน์ รักร่วม. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้บริการร้านกาแฟภูฟิน จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.