สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักวิชาการเงินและบัญชี ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

รุ่งรัศมี รัชสมบัติ
กัญญาณัฐ รัตนประภาธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักวิชาการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักวิชาการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 102 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชี ด้านจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และด้านทัศนคติทางวิชาชีพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณภาพรายงานทางการเงินโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญสรุปได้ว่า สรรถนะทางวิชาชีพบัญชีส่งผลกระทบต่อคุณภาพรายงานทางการเงินโดยรวม ดังนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดทำรายงานทางการเงิน เข้ารับการฝึกอบรม และพัฒนาความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีได้รับความรู้ ความเข้าใจ มีการพัฒนาศักยภาพในการจัดทำรายงานทางการเงินเพิ่มขึ้นและควรมุ่งเน้นให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีได้ตระหนักถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถจัดทำรายงานทางการเงินที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ และมีความถูกต้อง สามารถนำข้อมูลทางการเงินที่ได้เสนอต่อผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหาสารคามนำไปวิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินงานในอนาคตต่อไป เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร

Article Details

How to Cite
รัชสมบัติ ร., & รัตนประภาธรรม ก. (2022). สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของนักวิชาการเงินและบัญชี ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(1), 13–27. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2869
บท
บทความวิจัย

References

กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2562). ค้นหาบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2562, จาก www.pd.msu.ac.th/pd4/hr-สถิติบุคลากร.

คัทลียา ณ รุณ. (2557). ผลกระทบของมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้จัดทำบัญชีในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยนรินทร์ วีระสถาวณิชย์ และคณะ. (2548). International Education Standards (IES). สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย, 1, 35-36.

ตวงพร ทวีรักษ์. (2560). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงาน แรงจูงใจในการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงาน ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิตยา ร่มโพธิ์รี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจัดการการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาล สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปุณยนุช จอมเงิน. (2555). ผลกระทบของความรู้ทางการบัญชีที่ดีที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชรินทร์ คำหาญ. (2553). ผลกระทบของคุณภาพโปรแกรมสำเร็จรูปบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจ SMEs จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2562). ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2562, จาก http://www.webmsu.ac.th/msucont.php?mn=mhistory.

รัชนี แสงศิริ. (2549). ผลกระทบของความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีต่อคุณลักษณะบรรษัทภิบาลของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(1), 15-16.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน (ปรับปรุง 2558). สืบคืนเมื่อ 23 ธันวาคม 2562, จาก http://www.fap.or.th/images/column_1450924281/Framework.pdf>

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). ข้อกำหนดด้านสมรรถนะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562, จาก http://www.tfac.or.th/upload/9414/1U2r9e0jMJ.pdf.

สวัสดิ์ พุ่มภักดี และ ธัญพร วชิกุลวริน. (2550). สัมมนาเชิงปฏิบัติการวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: พัฒนาวิชาการ.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิชา บัวผุด. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการทำงานของข้าราชการครู โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม เขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุสุนิษา ธงจันทร์. (2552). ผลกระทบของคุณลักษณะทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิตมหาสารคามมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรดี ศรีคำมุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชี: กรณีศึกษานักบัญชีในธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 15-19.

Aaker, D. A., Kumar, V., and Day, G.S. (2005). Marketing research. 7th ed. New York: John Wiley and Son.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. USA: John Wiley and Son.

Nunnally, J. C., (1978). Psychometric theory. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.

Nunnally, J. C. & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. 2nd ed. Test and Measurement New York: McGraw-Hill.