การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตปลาส้มสายเดี่ยว : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปปลา บ้านห้วยบง ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

หทัยรัตน์ ศรีบุบ
ศรสวรรค์ ลีกุล
อาทิตยา นามมาตย์
อรชุมา มูลศรี

บทคัดย่อ

ปัจจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตปลาส้มสายเดี่ยว 2) เพื่อศึกษาผลตอบแทนการผลิตปลาส้มสายเดี่ยว 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการผลิตปลาส้มสายเดี่ยว ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญคือ นางแพงตา ไชยศรี สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปปลา บ้านห้วยบง ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งมีประสบการณ์การทำปลาส้มมามากกว่า 10 ปี ผลการวิจัยพบว่า เงินลงทุนเริ่มแรกจะประกอบไปด้วย เงินสด จำนวน 60,000 บาทและอุปกรณ์ที่ใช้การผลิตจำนวน 106,850 บาท ในการผลิต 1 เดือนสามารถผลิตปลาส้มสายเดี่ยวได้ 3,772 ถุง โดยมีต้นทุนการผลิตทั้งหมด 311,203 บาท ประกอบด้วยวัตถุดิบทางตรง 168,000 บาท ค่าแรงงานทางตรง 16,800 บาท และค่าใช้จ่ายการผลิต 67,603 บาท ผลตอบแทนที่ได้จากการจำหน่ายปลาส้มสายเดี่ยว มีรายได้จากการจำหน่าย 377,200 บาทต่อเดือน มีผลตอบแทนจากเงินลงทุน 39.55% มีต้นทุนขายต่อยอดขาย 82.50% มีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 17.50% มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 17.50% และมีปริมาณการขาย ณ จุดคุ้มทุน คือ 102 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตปลาส้มสายเดี่ยว ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตปลาส้มสายเดี่ยวคือปัญหาด้านต้นทุนวัตถุดิบและการขาดแคลนวัตถุดิบ

Article Details

How to Cite
ศรีบุบ ห., ลีกุล ศ., นามมาตย์ อ., & มูลศรี อ. (2022). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตปลาส้มสายเดี่ยว : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปปลา บ้านห้วยบง ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(1), 43–55. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2873
บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2559). การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2563, จาก https://bsc.dip.go.th/th/category/sale-marketing/sm-breakevenpoint.

จินตหรา แสนสามารถ. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตปลาแปรรูปบ้านน้ำพ่น ตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1, อุบลราชธานี: ,มหาวิทยาลัยราชธานี.

ชนัญฎา สินชื่น. (2563). รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ชาติชาย มีสุขโข. (2561). ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564, จาก https://www.cmsk-academy.com/article/285/return-and-risk.

นฤทัย สถิตอินทาพร. (2560). การจัดการกล่มวิสาหกิจชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมือง: กรณีศึกษา กลุ่มปลา 1 เดียว บ้านห้วยบง ตำบลโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2563 จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/60/nigrc2017/pdf/HMP28.pdf

ประพันธ์ โนระดี (2558). การบริโภคสัตว์น้ำของไทย. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564, จาก https://www.fisheries.go.th/foreign/images/pdf/a0654.pdf.

รชต สวนสวัสดิ์. (2561). การบัญชีต้นทุน 2. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ลลิตา ผายพิมพ์. (2560). การทำปลาส้ม. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2563, จาก https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94931#oer_data

อินทิรา สุวรรณดี และคณะ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตปลาร้าแปรรูป: กรณีศึกษา กลุ่มแจ่วบอง OTOP 3 ดาว บ้านหนองแก อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://ms.udru.ac.th/ACresearch/assets/pdf/20200425103017.pdf