การสังเคราะห์งานวิจัยทางบัญชี: การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

Main Article Content

สุมินทร เบ้าธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยทางบัญชี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ วิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ ระดับมหาบัณฑิตด้านการบัญชี จำนวน 129 เล่ม จากโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจข้อมูลเพื่อการสังเคราะห์งานวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านข้อมูลพื้นฐาน พบว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุด เพศที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือ เพศหญิง ปีที่งานวิจัยแล้วเสร็จส่วนใหญ่คือ ปี พ.ศ. 2556 -2557 จำนวนหน้าของงานวิจัยที่มากที่สุดคือ 51-100 หน้า 2. ด้านเนื้อหาตามขอบเขตของงานวิจัย พบว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยที่นิยมมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปร ส่วนใหญ่ไม่มีการพิสูจน์สมมติฐานการวิจัย เอกสาร/สิ่งอ้างอิงมากที่สุดคือ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่เกิน 10 ปี ย้อนหลัง นับจากปีที่วิจัยแล้วเสร็จ ทฤษฎีที่นำมาใช้มากที่สุดคือทฤษฎีตัวแทน 3. ด้านวิธีการดำเนินการวิจัย พบว่า ประเภทของการวิจัยที่นิยมมากที่สุด คือ วิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการเลือกใช้กลุ่มประชากรมากกว่ากลุ่มตัวอย่าง การได้มาของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุดคือ การสร้างเครื่องมือเอง ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลทุติยภูมิ วิเคราะห์โดยใช้สถิติร้อยละมากที่สุด 4. ด้านผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการนำเสนอที่ใช้มากที่สุดคือ แบบความเรียงและตาราง งานวิจัยที่มีการพิสูจน์สมมติฐานส่วนใหญ่มีทั้งแบบสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน มีการอภิปรายผลที่มีความเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าการอภิปรายผลแบบเชื่อมโยงแนวคิด/ทฤษฎี ส่วนใหญ่มีการให้ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา และมีการระบุข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัย ส่วนใหญ่ไม่ระบุว่ามีข้อจำกัด กลุ่มบุคคลที่คาดว่าจะนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ กลุ่มนักลงทุน 5. ด้านหัวข้อการวิจัยทางบัญชี พบว่า หัวข้อด้านการบัญชีการเงินและการควบคุมภายใน เป็นประเด็นที่มีการทำวิจัยมากที่สุด รองลงมาคือหัวข้อด้านธรรมาภิบาลและการกำกับดูแล และหัวข้อด้านการบัญชีบริหารและการตรวจสอบภายใน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนัญญา สุวรรณผา และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการแนะแนวในสถานศึกษาของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 284-301.

ณัฐพิพัฒน์ ดอกเทียน และ สุนทรา โตบัว. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงประเมินของวิทยานิพนธ์สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและประเมินทางการศึกษา.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(27), 70-78.

ธีระยุทธ อ้วนวงค์, ญาณภัทร สีหะมงคล และ บุษบา จริงบำรุง. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของครู: การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 129-136.

นธี เหมมันต์, อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และ สมชัย ปราบรัตน์. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านสาระของงานวิจัย ในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 9, หน้า 445-453. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พรณีย์ ตะกรุดทอง. (2562). การสังเคราะห์งานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ไพลิน ตรงเมธีรัตน์. (2556). ภาพรวมการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาชีพบัญชี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง 2555. วารสารวิชาชีพบัญชี, 9(25), 18-34.

_______. (2561). ภาพสะท้อนบทความวิจัยในวารสารวิชาชีพบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 14(44), 5-21.

สุรีย์ เข็มทอง. (2552). การสังเคราะห์ผลงานวิจัยด้านการตลาดของธุรกิจโรงแรมช่วง พ.ศ. 2545 -2550. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 7(2), 41-52.

อภินันท์ สิริรัตนจิตต์, นธี เหมนันต์ และ สรัญญา โยะหมาด. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านวิธีการวิจัยในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 9, หน้า 431-444. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อภิรักษ์ อนะมาน, วรรณา บัวเกิด, ธนรัชฎ์ ศิริสวัสดิ์ และสุวรรณี ยหะกร. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน วิชาเอกภาษาไทยสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 11(1), 116-125.

Gordon, T. P., & Porter, J. C. (2009). Reading and Understanding Academic Research in Accounting: A Guide for Students. Global Perspectives on Accounting Education, 6(1), 25-45.

Merchant, K. A. (2010). Paradigm in Accounting Research: A View from North America. Management Accounting Research, 21(2), 116-120.

Oler, O. K., Oler, M. J.,& Skousen, C. J. (2010). Characterizing Accounting Research. Accounting Horizons, 24(4), 635-670.