กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของผู้ชายในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัย 2 แบบในการศึกษาคือ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ Consumer Engagement Manager ของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางคลีนิกข์ ฟอร์ เมน (Clinique for Men) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคเพศชายที่เคยซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ชาย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ชายใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ ได้แก่ Facebook, Twitter, Youtube และ Instagram รวมถึงใช้ผู้ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของกลุ่มเป้าหมาย (Influencer) ในการสื่อสารการตลาด 2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ชายใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขาย 3. ปัจจัยการสื่อสารการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ชายพบว่า โฆษณามีความน่าสนใจ ให้ข้อมูลข่าวสารและแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ การจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อประชาสัมพันธ์ การลดราคาสินค้า การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต พนักงานให้บริการเป็นที่ประทับใจ การจัดกิจกรรมการกุศล กิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ การเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เช่น งานแสดงดนตรี งานแข่งขันกีฬา การประกวดต่าง ๆ และการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ชาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
ฉัตรยาพร เสมอใจ. (2549). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณภัทร กาญจนะจัย. (2561). ส่อง 7 เทรนด์คอสเมติกปี 2019 แค่ก้าวตามก็โตได้อย่างสะพรั่ง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, จาก http://www.bangkokbiznews.com/pr/ detail/42601.
ดาววดี เพชรบรม. (2557). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ 4 มิติ. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันยพร วรรณประเสริฐ. (2556). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดหนังสือนวนิยายไทยของสำนักพิมพ์และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ผู้จัดการ. (2558). ตลาดเครื่องสำอาง “โตเงียบ” แต่มูลค่ามหาศาล. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.gotomanager.com/content.
สำนักบริหารการทะเบียน. (2561). สถิติทางการทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age_disp.php.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2559). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: สามลดา.
อลิสสรา รุ่งนนทรัตน์ ชรินทร์สาร. (2561). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ต่อให้ติดใกล้ชิด ผู้บริโภคในโลกไร้รอยต่อ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
แอนนา เจียรวงศ์วาณิช. (2554). การเปิดรับการสื่อสารการตลาดและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผู้ชายในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคล นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Bloomberg. (2019). Gen Z Is Blowing Open the Market for Men’s Makeup. Retrieved September 15, 2020, from https://www.bloomberg.com/news/ articles/2019-07-10/gen-z-is-blowing- open-the-market-for-men-s-makeup.
Coates, H. (2019). The Best Men’s Skincare. Retrieved March 2, 2020, from https://www.vogue.co.uk/gallery/best-mens-skincare-skin-care-clinique-kiehls-aveda.
Fashionbeans. (2020). The Best Men's Grooming Products Of 2020. Retrieved March 2, 2020, from https://www.fashionbeans.com/article/best-mens-grooming-products/.
Ho, H. C., Chiu, C. L., Mansumitrchai, S., & Quarles, B. J., (2020). Hedonic and utilitarian value as a mediator of men’s intention to purchase cosmetics. Journal of Global Fashion Marketing, 11(1), 71-89.
Khan, I., Dongping, H., Abdullah, M., Ahmad, Z., Ghauri T. A., & Ghazanfar, S. (2017). Men’s attitude and motivation toward consumption of grooming products: A comparison of Chinese and Pakistani male consumers. Journal of Cogent Business & Management, 4(1), 1309783.
Voice Online. (2561). World Trend – ตลาดเครื่องสำอางสำหรับผู้ชายเริ่มบูมในเอเชีย. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562, จาก https://voicetv.co.th/watch/e3IehAW-8.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.