การวิเคราะห์มาตรวัดส่วนประสมทางการตลาดบริการของธุรกิจโรงแรม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์มาตรวัดส่วนประสมทางการตลาดบริการของธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ลูกค้าที่เข้าพักในโรงแรมเดอ ปริ้นเซส ลักซูรี่บูทีคโฮเทล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 316 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยอาศัยสูตรการกำหนดขนาดตัวอย่างเพื่อประมาณค่าเฉลี่ยประชากร สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21 - 0.55 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.835 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis : CFA) ผลการวิจัยพบว่า มาตรวัดของส่วนประสมทางการตลาดบริการธุรกิจโรงแรม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 26 ตัวบ่งชี้ เรียงลำดับตามความสำคัญ ได้ดังนี้ คุณภาพของห้องพักที่มีความปลอดภัยและการบริการที่ดี วัดด้วยตัวบ่งชี้ 6 ข้อ ความคุ้มค่าของห้องพักที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีและบุคลากรที่เป็นมิตร วัดด้วยตัวบ่งชี้ 5 ข้อ กระบวนการในการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ วัดด้วยตัวบ่งชี้ตัวบ่งชี้ 4 ข้อ บุคลากรที่มีคุณภาพในการให้บริการ วัดด้วยตัวบ่งชี้ 4 ข้อ ทำเลที่ตั้งของโรงแรมที่สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกและการบริการที่ดี วัดด้วยตัวบ่งชี้ 3 ข้อ การส่งเสริมการตลาด วัดด้วยตัวบ่งชี้ 4 ข้อ ราคาที่เหมาะสม วัดด้วยตัวบ่งชี้ 2 ข้อ โดยแต่ละองค์ประกอบที่ 1-6 มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างในการวัด เท่ากับ 0.86, 0.80, 0.83, 0.79, 0.82 และ 0.68 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). เข็มทิศท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ชมัยพร แก้วรอด. (2558). พฤติกรรมและระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกใช้บริการโรงแรมระดับ 4-5 ดาวในเขตตำบลป่าตอง อำเภอเมือกะทู้ จังหวัดภูเก็ต.วิยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2560). โมเดลสมการโครงสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชลบุรี: เอ.พี. บลูปริ้นท์.
โพสต์ทูเดย์. (2561). รายได้จากการท่องเที่ยวเมืองรองจังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.prachachat.net/tourism/news-263966.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงธุรกิจ.
ศุภกฤต ปิติพัฒน์. (2561). ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความเป็นเมืองน่าอยู่ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1). 78-90.
สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2557). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.
สุนทรีย์ ศิริจันทร์. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแบบโฮสเทล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
โสภิตา รัตนสมโชค. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อความ พึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ (บีทีเอส) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (14th Global ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
________. (2003). Marketing Management. (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice – Hall.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2004). Principles of marketing. (17th ed.). United States of America: Pearson Education.
McCarthy, E. J. (1971). Basic marketing: A managerial approach (4th ed.). Homewood, IL: Irwin.
Thai Standard Industrial Classification. (2552). การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม(ประเทศไทย). สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttps://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/vgnew_th/d8a88846bfef391bbf9602fe0ba18d1b.pdf.