ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อพัฒนาสู่สถาบันการเงินชุมชนกองทุนหมู่บ้านในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ธีรวัฒน์ หินแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติการจัดการกองทุนหมู่บ้านเพื่อพัฒนาสู่สถาบันการเงินชุมชนกองทุนหมู่บ้านในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการกองทุนหมู่บ้าน เพื่อพัฒนาสู่สถาบันการเงินชุมชนกองทุนหมู่บ้าน ประชากร จำนวน 985 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 276 คน จำแนกตามระดับการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติการจัดการกองทุนหมู่บ้านเพื่อพัฒนาสู่สถาบันการเงินชุมชนกองทุนหมู่บ้านในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.14) เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน (gif.latex?\bar{x}=4.40) ด้านการขยายโอกาสการเข้าถึงและให้บริการทางการเงินแก่ผู้มีรายได้น้อย (gif.latex?\bar{x}=4.25) ด้านความหลากหลายของบริการทางการเงินแก่ชุมชน (gif.latex?\bar{x}=4.20) และด้านนโยบายในการส่งเสริมอาชีพ (gif.latex?\bar{x}=3.70)

Article Details

How to Cite
หินแก้ว ธ. (2021). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติการจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อพัฒนาสู่สถาบันการเงินชุมชนกองทุนหมู่บ้านในอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(1), 91–103. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2895
บท
บทความวิจัย

References

จินตกานต์ แสงอ่อน. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้าน: กรณีศึกษาตำบลสร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ.

วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์ แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประไพ จุ้ยอ่วม. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพร้อมของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อเป็นสถาบันการเงินชุมชน: กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2547). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563, จาก http://www.villagefund.or.th/uploads/gallery/image_big_ 5a83c4a139ebc.pdf.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2553). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, สำนักงาน. (2544). ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุกานดา ผิวอ่อนดี, อุษณีย์ เส็งพาณิช และธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ. (2558). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ในเขตตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 9(2), 125-141.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.