คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ธัญญ์นนท์ เศรษฐรัตน์กุล
โกศล สอดส่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาดี จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.809


ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริการส่วนตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (equation = 3.34) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านร่างกาย (equation  = 3.53) รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (equation = 3.49) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสิ่งแวดล้อม (equation  = 3.00) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิระประภา ปัดถา. (2559). บทบาทของเทศบาลตำบลบ้านสร้างต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จุฬารัตน์ คนเพียร. (2558). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. งานนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐวัฒน์ ขันโท. (2557). คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่หน่วยบริการชุมชน คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา. ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงกมล คนโทเงิน. (2554). ทัศนคติและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชุมชนรอบโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษา: อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, หน้า 1051-1058. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 380-381.

ศศิประภา มวลชู. (2565). คุณภาพชีวิตของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สุชาติ ทะเลลึก. (2563). คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนพื้นที่เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น ฉบับทบทวน (พ.ศ.2566 - 2570). อุดรธานี: งานวิเคราะห์นโยบายและแผน องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Sharma, R. C. (1975) Population Trends, Recourses and Environment. New Delhi: Dhanpat Rai.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd Ed.). New York: Harper and Row.