การศึกษาห่วงโซ่อุปทานกองทุนหมู่บ้านเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการจัดการ สถาบันการเงินชุมชน ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 2

Main Article Content

กิ่งดาว จินดาเทวิน
อิราวัฒน์ ชมระกา
สุทธิรัตน์ พลอยบุตร
ศิริกานดา แหยมคง
วิไลวรรณ ศรีหาตา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่อุปทานกองทุนหมู่บ้านและระดับประสิทธิภาพการจัดการสู่สถาบันการเงินชุมชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) สาขา 2 ในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ประธานหรือตัวแทนคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน 36 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์โดยการสนทนากลุ่มย่อยและแบบสอบถามสำหรับกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 378 ราย สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหูคูณ วิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ วิเคราะห์ความแปรปรวน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเงินทุนตามห่วงโซ่อุปทานกองทุนหมู่บ้าน มี 4 กิจกรรม คือ การจัดหา การขนส่งหรือเคลื่อนเงินทุน การจัดเก็บเงินทุนสำรองและการกระจายเงินทุน ห่วงโซ่อุปทานกองทุนหมู่บ้านประกอบด้วย ผู้จัดหา ผู้สนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้าน นำไปดำเนินงานภายในห่วงโซ่อุปทานภายในเพื่อจัดการเงินกองทุนหมู่บ้าน และเคลื่อนย้ายสู่ลูกค้า คือ ให้กู้ยืมแก่สมาชิกกองทุน และลงทุนตามโครงการประชารัฐ โดยอาศัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลของการศึกษาระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนหมู่บ้านสู่สถาบันการเงินชุมชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ สทบ. สาขา 2 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อระดับประสิทธิภาพในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า เงื่อนไขคุณธรรมและประสิทธิภาพการจัดการกองทุนหมู่บ้านสู่สถาบันการเงินชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพการจัดการกองทุนหมูบ้านสู่สถาบันการเงินชุมชน ได้ร้อยละ 71.7 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ R2 = .721

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไทยพับลิก้า กล้าพูดความจริง. (2558). เปิดงานวิจัย “กองทุนหมู่บ้าน” 14 ปี. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2560, จาก https://thaipublica.org/2015/09/villagefund-1/.

ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2561). กองทุนหมู่บ้าน' 61 กุญแจไขความจน. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/1318031.

นพพร จันทรนำชูและคณะ. (2561). รูปแบบการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชน. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(2), 3217-3232.

วรพิทย์ มีมาก. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติบทวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสังคมศาสตร์, 20(20), 179-198.

วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2556). วิจัยธุรกิจยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วัลย์ลิกา ลิ้มสุวรรณ. (2561). บทบาทสถาบันการเงินชุมชน ในการแก้ปัญหาความยากจน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสงัคมศาสตร์, 6(1), 59-76.

วุฒิ สุขเจริญ. (2561). วิจัยการตลาด. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. (มปป.). การจัดการการเงินชุมชน กรณีเครือข่ายสัจจะออมทรัพย์ จังหวัดสงขลา. ชุดบทเรียนชุมชนลำดับที่ 14. มปท.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขา 2. (2562). ข้อมูลกองทุนหมู่บ้านที่ยกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชน. อุตรดิตถ์. (โรเนียว).

Hussain, M., Maskooki, K. & Gunasekaran, A. (2001). "Implications of Grameen banking system in Europe: prospects and prosperity", European Business Review, 13(1), 26-42.

Kabir Hassan, M., & Renteria‐Guerrero, L. (1997). "The experience of the Grameen Bank of Bangladesh in community development", International Journal Of Social Economics, 24(12), 1488-1523.

Nunally, J.C., & Bernstein, I.H. (1994). Psychometric Theory. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Parul, A. (2018). A Study on the Factors Affecting the Performance of Microfinance Institutions in Bangladesh. Pacific Business Review International, 10(11).