ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้ตัดแต่งในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อผลไม้ตัดแต่งในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค จังหวัดสุพรรณบุรี และศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้ตัดแต่งในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา โดยนำเสนอในรูปแบบของตารางแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานและหาความสัมพันธ์ คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-26 ปี มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท สถานภาพโสด มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลไม้ตัดแต่งของผู้บริโภคผลไม้ตัดแต่งในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค จังหวัดสุพรรณบุรีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 มี 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านกระบวนการ และในส่วนของลักษณะทางประชากร ศาสตร์ที่แตกต่างกัน พบว่า การตัดสินใจซื้อผลไม้ตัดแต่งของผู้บริโภคผลไม้ตัดแต่งในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมไม่แตกต่างกันในผู้ที่มี เพศ อายุ รายได้ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กระทรวงพาณิชย์. (2562). เทรนด์สุขภาพมาแรง คนเมืองยุคใหม่ตั้งเป้าชีวิตดีมีสุข. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563, จาก https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4405/.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ผลไม้ไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563, จาก http://www.sawadee.co.th/thailand/food/fruits.html.
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). สุพรรณบุรีเมืองยุทธหัตถี เศรษฐกิจฟื้นตัวกว่าที่คาด. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/central/1619098.
ธวัชชัย วรพงศธร. (2561). ประชากร ตัวอย่าง และขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 41(2) 11-22.
นลินนาถ ภู่พวงไพโรจน์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เบเกอรี่แช่เย็นในร้านสะดวกซื้อ ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทสารี สุขโต และคณะ. (2558). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
บุญญารัตน์ บัวคำ. (2557). พฤติกรรมการบริโภคผลไม้ตัดแต่งของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563, จาก https://agkku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=F_004.pdf&id=1535&keeptrack=3.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์, 18(1), 375-396.
ภมรย์ สกุลเลิศวัฒนา และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารพร้อมรับประทานในร้านสะดวกซื้อของผู้สูงอายุ ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 7, 155-168.
ภรณี แย้มพันธ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปตราดอยคำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2562). จำนวนประชากรจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป แยกรายตำบลปี พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 7 มิ.ย. 2563, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php.
วิโรจน์ ตระกูลสุขสันต์ และอิทธิกร ขำเดช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งจากร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
สร้อย โชติแฉล้มสกุลชัย. (2561). ผักและผลไม้สดตัดแต่งแช่เย็น...โอกาสเติบโตมาแรงรับเทรนด์สุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2563, จาก http://www.foodfocusthailand.com/eBook/152/files/basic-html/page33.html.
สำนักทะเบียนกลาง. (2562). จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_62.pdf.
สุทิน ชนะบุญ. (2560). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2563, จาก http://www.kkpho.go.th/i/index.php/component/attachments/download/1932.
Best, JW. (1977). Research in Education. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.
Cochran, W.G. (1997). Sample Techniques. New York: Wiley.
Food Market Share in Thailand. (2560). แนวโน้มตลาดผลไม้ตัดแต่ง. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2563, จาก http://fic.nfi.or.th/FoodMarketShareInThailandDetail.php?id=225.
Kotler, Philip. (2003). Marketing management. New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, Philip. and Keller, Kevin Lane. (2006). Marketing management. New Jersey: Pearson Education.
Pride, W., Elliot, G., Rundle-Thiele, S.R., Waller, D., Paladino, A. and Ferrell, O.C. (2006), Foundations of Marketing: Core Concepts and Applications. John Wiley & Sons, Milton.